Saturday, July 18, 2009

การถือปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติด้วยมือสองข้าง (Pistol gripping 2)




การถือปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติด้วยมือสองข้าง (Pistol gripping 2)

หลักการถือปืนด้วยสองมือจะเหมือนกับการถือปืนลูกโม่ทุกประการ โดยใช้ High grip ร่วมกับ Push/pull technique ส่วนการจับสองมือวิธีที่ใช้กันบ่อยๆ คือ แบบ Lock thumb grip และแบบ High thumb grip หรือ Thumbs forward grip

สำหรับปืนสั้นกึ่งอัตโนมัตินิยมวิธี High thumb grip หรือ Thumbs forward grip มากที่สุด เพราะให้ความแม่นยำสูงกว่า แต่ Lock thumb grip ให้ความกระชับมากกว่า (โดยส่วนตัวแล้วจะใช้วิธี Lock thumb grip ทั้งปืนลูกโม่และปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ) บางคนอาจใช้นิ้วชี้มือข้างไม่ถนัดมาเกี่ยวไว้หน้าโกรงไกปืนเพื่อเพิ่มความกระชับมากขึ้น ดังนั้นปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติบางกระบอกจึงทำลายกันลื่นที่หน้าโกรงไกปืนไว้สำหรับนิ้วชี้มาเกี่ยว (โดยส่วนตัวจะไม่ใช้นิ้วชี้มาเกี่ยวหน้าโกรงไกปืน)

ในระบบต่อสู้การเหนี่ยวไกของปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติจะใช้ข้อปลายนิ้วชี้ เนื่องจากต้องลากไกยาวอย่างสม่ำเสมอและไม่ต้องกลั้นหายใจขณะยิง ยกเว้นว่าทำการยิงเป้าหมายที่ระยะไกลซึ่งต้องการความแม่นยำสูง

โดยสรุปสำหรับปืนสั้นกึ่งอัตโนมัตินิยมจับแบบ High grip และ High thumb grip หรือ Thumbs forward grip ร่วมกับ Push/pull technique

การยิงปืนระบบต่อสู้ไม่ว่าจะเป็นปืนลูกโม่หรือปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ เมื่อยิงเสร็จ “อย่าเพิ่งลดปืนลงทันที” ให้ตรวจการณ์ดูเป้าหมายก่อนว่ายังคงเป็นภัยคุกคามอยู่หรือไม่ กวาดตาและปืนดูซ้าย-ขวา (ปืนยังอยู่ในระดับสายตาและหันไปในทิศทางเดียวกับสายตาตลอด แต่นิ้วอยู่นอกโกรงไกปืน เพราะหากเป้าหมายแสดงลักษณะว่ายังคงเป็นภัยคุกคามอยู่ หรือมีภัยคุกความใหม่ปรากฏออกมาก็จะสามารถทำการยิงต่อเนื่องได้ทันที) เรียกว่า การตรวจการณ์หลังการยิง (Cover mode)

เมื่อแน่ใจแล้วว่าปลอดภัยจึงค่อยลดปืนลงมาอยู่ในท่า Low ready position, High compressed ready position, Position sul, High หรือ Combat high position ตามแต่สถานการณ์ความเหมาะสม

การตรวจการณ์หลังการยิง (Cover mode) อาจมีความแตกต่างกันได้หลายรูปแบบ ซึ่งหลักใหญ่ๆจะคล้ายกัน กล่าวคือ อย่าลดปืนลงทันทีหลังยิงเสร็จ กวาดสายตามองหาภัยคุกคาม ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยอาจแตกต่างกันบ้างตามแต่หลักสูตรยิงปืน อย่างเช่นในอเมริกาบางหลักสูตร หลังจากยิงเสร็จจะยังคงจับตาอยู่ที่เป้าหมายระยะหนึ่งก่อนค่อยลดปืนลงมาอยู่ในท่า High compressed ready position แล้วผู้ยิงจึงกวาดสายตาทั้งซ้าย-ขวาและข้างหลัง ส่วนปืนยังคงชี้ไปข้างหน้า เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงค่อยลดปืนและเก็บเข้าซอง

การตรวจการณ์หลังการยิงเป็นสิ่งสำคัญข้อหนึ่งที่ทำให้การยิงปืนระบบต่อสู้แตกต่างจากการยิงปืนแข่งขันทั่วไป เพราะในการยิงปืนแข่งขันเราสักแต่ยิงอย่างเดียวเพื่อเก็บคะแนนหรือจับเวลา เราไม่ต้องกังวลว่าเป้าหมายจะยิงสวนกลับมา แต่ในการยิงต่อสู้เราต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าสามารถหยุดยั้งภัยคุกคามเบื้องหน้าได้แล้วและยังต้องระวังว่าอาจมีภัยคุกคามใหม่ปรากฏขึ้นมาอีก เพราะในสถานการณ์ส่วนใหญ่มักมีภัยคุกคามมากกว่าหนึ่ง จึงควรฝึกตรวจการณ์หลังการยิงจนเป็นนิสัย

สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”

เรียบเรียงโดย Batman

Friday, July 10, 2009

การถือปืนลูกโม่ด้วยมือสองข้าง (Revolver gripping 2)



















การถือปืนลูกโม่ด้วยมือสองข้าง (Revolver gripping 2)

ดังที่กล่าวไว้ข้างต้นว่าปืนพกถูกออกแบบมาให้ยิงได้ด้วยมือเพียงข้างเดียว เพราะฉะนั้นมือข้างถนัดที่ถือปืนจึงเป็นมือหลักในการออกแรงถือปืน มืออีกข้างเพียงประคองปืนหรือช่วยพยุงปืนให้นิ่งขึ้นเท่านั้น (ออกแรงน้อยกว่ามือข้างถนัด) การถือปืนสองมือมีหลายวิธีดังตัวอย่างต่อไปนี้


เริ่มต้นจากมือหลักที่ถือปืนหรือมือข้างถนัดต้องกำด้ามปืนอย่างถูกต้องก่อน (ตามหลักการถือปืนลูกโม่ด้วยมือข้างเดียว)

แบบที่ 1 (เป็นแบบที่ พล.ต.ท.จารักษ์ แสงทวีป สอนให้ผม)
มือข้างไม่ถนัดลองใต้ด้ามปืนนิ้วชี้เหยียดยาวไปแตะใต้โกรงไกปืน

แบบที่ 2 Lock thumb grip (นิยมมากที่สุด)
มือข้างไม่ถนัดกำด้ามปืนโดยนิ้วหัวแม่มือวางทับไปบนนิ้วหัวแม่มือของมือข้างถนัด โดยอาจใช้ร่วมกับ Push/pull technique (มือข้างไม่ถนัดดึงเข้าหาตัวในขณะที่มือข้างถนัดดันออก) ทำให้จับปืนได้กระชับขึ้น

แบบที่ 3 High thumb grip/Thumbs forward grip (ไม่นิยมและไม่แนะนำ)
นิ้วหัวแม่มือข้างถนัดเหยียดยาวชิดโครงปืน ส่วนนิ้วหัวแม่มือข้างไม่ถนัดก็เหยียดยาวชิดโครงปืนใต้ลูกโม่ (นิ้วหัวแม่มือข้างไม่ถนัดอาจไปขัดกับลูกโม่ทำให้ปืนเกิดติดขัดระหว่างการยิงได้)

แบบที่ 4 (ไม่นิยม)
มือข้างไม่ถนัดกำด้ามปืนโดยนิ้วหัวแม่มือวางทับไปบนโคนนิ้วหัวแม่มือมือข้างถนัด (ต้องระวังไม่วางใกล้ง้ามนิ้วมือข้างถนัดเพราะจะไปรบกวนการทำงานของนกสับทำให้ถ่อยหลังได้ไม่สุดเป็นผลให้ปืนติดขัดได้ ยกเว้นเป็นปืนนกสับในหรือปืนที่นกสับหลบอยู่ในโครงปืน แต่อย่างไรก็ไม่แนะนำให้วางใกล้ง้ามนิ้ว) ผู้เชี่ยวชาญบางท่านใช้การกำด้ามแบบนี้เมื่อยิงจากปืนโครงเล็กหรือปืนพกซ้อนที่เล็กมาก (Concealed carry guns)

แบบที่ 5 (ไม่นิยมและไม่แนะนำ)
มือข้างไม่ถนัดกำรอบข้อมือข้างถนัด

โดยส่วนตัวแล้วจะจับปืนแบบ 1 และ 2 โดยมักจับปืนแบบ Lock thumb grip เป็นส่วนใหญ่ จะจับแบบ 1 เมื่อยิงเป้าวงกลมดำและจับแบบ 2 เมื่อยิงในระบบต่อสู้ เป็นที่ยอมรับกันว่าสำหรับปืนลูกโม่การจับแบบ Lock thumb grip เหมาะสมมากที่สุด

มีครูสอนแบดมินตันท่านหนึ่งให้ความเห็นเกี่ยวกับการจับด้ามไม้แบดว่ามีการจับหลายแบบทั้งกำด้ามแบบหลวมๆและแบบกำแน่นตลอดเวลา ถ้ากำแบบหลวมๆช่วงเวลาที่ไม้ตีถูกลูกขนไก่ก็ต้องกำแน่นเพื่อให้ลูกมีพลังและไม้ไม่หลุดจากมือ ดังนั้นให้ดูที่คุณภาพของลูกที่ลูกศิษย์ตีออกไป ถ้าคุณภาพดีก็ไม่ต้องไปแก้ไขการจับไม้ แต่ถ้าลูกที่ตีออกไปคุณภาพไม่ดีหรือไม่เคยตีมาก่อน ก็แนะนำวิธีการจับไม้ตามที่ครูสอน (ครูคนนี้สอนให้กำหลวมๆ) สำหรับการจับปืนก็เช่นกันมีการจับหลายรูปแบบ ทุกแบบก็มีนักยิงปืนแม่นๆที่มีชื่อเสียงหลายคนใช้ ดังนั้นจึงไม่อาจบอกได้ว่าแบบใดดีที่สุดขอให้ดูผลงานการยิงปืนจะดีกว่า แต่ถ้าจะให้ผมสอนหรือแนะนำก็ต้องตามวิธีที่กล่าวไปข้างต้น

โดยสรุปสำหรับปืนลูกโม่ควรจับปืนแบบ High grip และ Lock thumb grip ร่วมกับ Push/pull technique

สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”

เรียบเรียงโดย Batman

Saturday, July 4, 2009

การถือปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติด้วยมือข้างเดียว (Pistol gripping 1)










การถือปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติด้วยมือข้างเดียว (Pistol gripping 1)

หากถือปืนลูกโม่จนชำนาญแล้วการถือปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติก็ง่ายมากเพราะหลักการเดียวกัน ตามขั้นตอนดังนี้

1. อย่างแรกควรเริ่มจากการถือปืนในมือข้างถนัดก่อน
2. กางนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วอื่นๆออกให้เป็นรูปคล้ายตัว วี (V)
3. นำปืนเข้ามาใส่ในง้ามระหว่างนิ้วโป้งกับนิ้วชี้โดยให้ขอบบนของโครงด้ามปืนอยู่ชิดกับง้ามนิ้ว (High grip)
4. นิ้วชี้ทาบชิดไปกับโครงปืนอยู่นอกโกรงไก นิ้วที่เหลือกำด้ามปืนพอกระชับ
5. งอนิ้วโป้งลงทาบกับโครงปืน

จุดสำคัญคือ ให้จับด้ามปืนชิดขอบโครงด้ามปืนด้านบน ไม่ว่าปืนจะเป็น Single action หรือ Double action ก็ให้จับแบบนี้จะทำให้คุมปืนได้ง่ายและลดแรงสะบัดของปืน

ส่วนการเหนี่ยวไกก็ให้ใช้ข้อพับนิ้วชี้ข้อปลายในการเหนี่ยวไก โดยค่อยๆเพิ่มน้ำหนักไกจนกระสุนลั่นออกไป อย่ากระตุกไกเพราะจะทำให้ปืนสั่นขาดความแม่นยำ และอย่ากำด้ามปืนแน่นจนเกิดอาการเกร็ง

เมื่อยังไม่ต้องการยิงให้นิ้วชี้ที่ใช้เหนี่ยวไกปืนอยู่นอกโกรงไกเสมอ (นิ้วเหยียดยาววางทาบชิดไปกับโครงปืน)

ถ้ายิงเป้าวงกลมดำที่ต้องการความแม่นยำสูงก็ให้ใช้หลักการเดียวกับยิงปืนลูกโม่ได้ โดยต้องยิงให้ช่วงที่กลั้นหายใจไว้สักครู่ ลากไกยาวสม่ำเสมอจนกระสุนลั่นออกไปโดยไม่รู้ตัว เล็งละเอียดตลอดเวลา และ Follow through ไกปืน แต่ถ้ายิงระบบต่อสู้ก็ใช้หลักการแบบเดียวกับยิงปืนลูกโม่ทุกประการเช่นกัน
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”

เรียบเรียงโดย Batman

Newcastle limousines