Newest FBI Study 1
ในปี ค.ศ. 2006 FBI ได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยล่าสุดชื่อ Violent Encounters เป็นการศึกษาวิเคราะห์เกี่ยวกับการเผชิญเหตุร้ายแรงของเจ้าหน้าที่ตำรวจสหรัฐโดยมีการใช้อาวุธและเจ้าหน้าที่ตำรวจส่วนใหญ่จะเสียชีวิต เป็นการศึกษาในระยะเวลา 5 ปี จุดประสงค์เพื่อหาแนวทางป้องกันการสูญเสียชีวิตของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหาแนวทางฝึกฝน (Training) เจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงาน
จะขอสรุปเนื้อหาบางส่วนที่น่าสนใจ ดังนี้
- อาวุธที่ใช้: อาวุธปืนสั้นเป็นอาวุธซึ่งใช้ทำร้ายเจ้าหน้าที่ตำรวจมากที่สุด และปืนส่วนใหญ่ก็เป็นปืนที่ถูกต้องตามกฎหมายด้วยโดยเฉพาะปืนที่ใช้กันตามท้องถนนและพวกหัวขโมย จากการสัมภาษณ์คนร้ายพบว่า การจัดหาปืนมาใช้นั้นง่ายมากและกฎหมายไม่ได้เป็นอุปสรรคในการครอบครองปืนเลย นอกจากนั้นพวกเขากลับหัวเราะเยาะกฎหมายควบคุมปืนเสียด้วยซ้ำ
- ความคุ้นเคย: คนร้ายส่วนมากพกปืนเป็นประจำนานตั้งแต่ 9 ถึง 12 ปี อายุเฉลี่ยที่เริ่มพกปืน คือ 17 ปี โดยเฉพาะพวกแก๊งอาชญากรรมมักเริ่มพกตั้งแต่อายุน้อยๆ
40 เปอร์เซ็นต์ ของคนร้ายได้รับการฝึกฝนการใช้อาวุธอย่างเป็นระบบส่วนใหญ่จากกองทัพ มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ได้รับการฝึกยิงปืนสั้น โดยมีการฝึกยิงปืนเฉลี่ย 23 ครั้งต่อปี แต่ส่วนใหญ่เป็นการฝึกยิงปืนอย่างไม่เป็นระบบ
สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตพบว่าโดยเฉลี่ยผ่านการฝึกยิงปืนเพียง14 ช.ม. หรือฝึกเพียง 2.5 ครั้งต่อปีเท่านั้น มีเพียง 6 ใน 50 คนเท่านั้นที่ฝึกยิงปืนสั้นอย่างสม่ำเสมอ
โดยภาพรวมแล้วคนร้ายฝึกยิงปืนมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจเสียอีก นี่จึงอาจเป็นสาเหตุที่คนร้ายมีความสามารถในการยิงปืนที่ดีกว่า
มากกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ของคนร้ายเคยมีประสบการณ์เผชิญหน้าด้วยอาวุธปืนในสถานการณ์จริงมาก่อน ส่วนใหญ่เป็นการยิงกันตามท้องถนน มักเป็นการต่อสู้ในแก๊งค้ายาเสพติด ในขณะที่มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเพียง 8 ใน 50 คนเท่านั้นที่เคยมีประสบการณ์จริงมาก่อน
- การพกซ่อน: คนร้ายส่วนใหญ่จะพกซ่อนปืนไว้ที่เอวด้านหน้าบริเวณขาหนีบ อีกตำแหน่งคือเอวด้านหลัง นอกจากนั้นอาจให้คนอื่นเป็นคนพกอาวุธแทนโดยเฉพาะเพื่อนผู้หญิง ส่วนใหญ่ไม่ใช้ซองปืน มีประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ที่พกปืนสำรองในบางครั้ง ส่วนใหญ่มักพกอาวุธเกือบตลอดเวลา โดยหนึ่งในสามแม้แต่เวลาทำงานก็พกอาวุธด้วย ดูเหมือนว่าคนร้ายในการศึกษาครั้งนี้จะนิยมใช้อาวุธปืนมากกว่าคนร้ายในสองการศึกษาก่อนหน้านี้ (ในช่วงปี ค.ศ. 1980s และ 90s)
ตามท้องถนนนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจไม่ว่าหญิงหรือชายมักคิดว่าคนร้ายซึ่งเป็นผู้หญิงนั้นไม่ค่อยมีพิษภัย โดยคิดว่าพวกหล่อนไม่น่าจะมีปืน ในความเป็นจริงแล้วจากการศึกษาพบว่าผู้หญิงพกอาวุธปืนมากขึ้นกว่าเมื่อ 20 กว่าปีก่อนมาก
- รูปแบบการยิง: 60 เปอร์เซ็นต์ของคนร้ายบอกว่าเป็นการยิงโดยสัญชาติญาณ เพียงแค่ชี้ปืนไปที่เป้าหมายแล้วเหนี่ยวไกไม่ได้มองศูนย์ปืน พวกเขาฝึกที่จะชักปืนออกมาแล้วใช้มัน ไม่สนใจว่ากระสุนจะถูกส่วนไหนของร่างกายเป้าหมาย ขอเพียงยิงให้ถูกเป็นใช้ได้
- ความแม่นยำ: เกือบ 70 เปอร์เซ็นต์ที่คนร้ายใช้อาวุธปืนสั้นยิงถูกเป้าหมาย เมื่อเทียบกับเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งตกเป็นเหยื่อมีความสามารถยิงถูกเป้าหมายเพียง 40 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น (ดูจากความสามารถในการยิงถูกเป้าหมายโดยไม่คำนึงถึงจำนวนกระสุนที่ใช้) ที่เป็นเช่นนี้อาจเนื่องมาจากคนร้ายเปิดฉากยิงก่อนทำให้ได้เปรียบและสร้างความประหลาดใจให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ส่วนหนึ่งบาดเจ็บก่อนที่จะทำการยิงตอบโต้
- ข้อผิดพลาด: เจ้าหน้าที่จะยังคงระวังตัวเมื่อเห็นความผิดปกติในตัวคนร้ายซึ่งอาจเป็นอาวุธที่พกซ่อน ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจึงควรสังเกตสิ่งผิดปกติในตัวคนร้าย ไม่ว่าจะเป็นการแต่งกาย การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เสื้อผ้าที่มีส่วนยื่นออกมาผิดสังเกต หากเป็นฤดูร้อนแต่กลับใส่เสื้อหลายชั้น ในฤดูหนาวหรือฝนใส่เสื้อมีหมวกคลุมศีรษะแต่กลับไม่คลุม ก็ต้องสงสัยว่าในหมวกคลุมศีรษะนั้นอาจพกซ่อนอาวุธปืนเอาไว้
เนื่องจากคนร้ายมักไม่ใช้ซองปืนดังนั้นพวกเขามักต้องสัมผัสหรือขยับมันเป็นระยะๆ เพื่อให้แน่ใจว่าปืนยังอยู่ในที่ของมันโดยเฉพาะในเวลาที่พวกเขาเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนั่งไปยืน หรือออกจากรถยนต์ เป็นต้น
เจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งทำงานนอกเวลาเป็นผู้ดูแลไนท์คลับมักสามารถดูอาวุธพกซ่อนของคนที่มาเที่ยวได้ดี แต่เมื่อกลับมาทำงานในเวลาปกติก็เหมือนจะปิดทักษะนั้นไปเสีย ซึ่งในหลายครั้งมันหมายถึงชีวิตทีเดียว
- จิตสำนึก: เจ้าหน้าที่ตำรวจ 36 ใน 50 นาย เคยตกอยู่ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดซึ่งตามกฎหมายแล้วพวกเขาสามารถใช้อาวุธปืนได้ แต่พวกเขากลับเลือกที่จะไม่ใช้ ผิดกับคนร้ายซึ่งตกอยู่ในสถานการณ์ร้ายแรงถึงชีวิตตั้งแต่เด็ก พวกเขาสามารถถูกฆ่าได้เสมอ ดังนั้นจึงไม่ลังเลที่จะยิงใครก็ได้รวมทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ คนร้ายไม่มีจิตสำนึกหรือคุณธรรมแม้แต่น้อยในการใช้อาวุธปืน ในชีวิตจริงพวกเขายึกหลัก “ชิงลงมือ ยิงก่อน” ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจะต้องคิดไว้เสมอว่าคนร้ายมีอาวุธเสมอจนกว่าจะค้นตัวคนร้ายจนละเอียดดีแล้วเท่านั้น
จะเห็นได้ว่าอาชญากรในปัจจุบันนั้นอาจมีทักษะในการใช้อาวุธปืนมากกว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยเฉลี่ยเสียอีก ดังนั้นการฝึกฝนเพื่อเพิ่มทักษะการใช้อาวุธปืน การเป็นคนชั่งสังเกต ไม่ประมาท จึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเจ้าหน้าที่ตำรวจในการเอาตัวรอดจากสถานการณ์ปัจจุบัน
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง NEW FINDINGS FROM FBI ABOUT COP ATTACKERS & THEIR WEAPONS ของ Charles Remsberg
Friday, January 28, 2011
Saturday, January 22, 2011
1911 Myths
1911 Myths
ปีนี้เป็นปีที่ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติแบบ 1911 มีอายุครบ 100 ปี อีกทั้งเป็นปืนที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัว จึงขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับปืน 1911 มากเป็นพิเศษ
นาย Patrick Sweeney ได้ให้ข้อคิดเห็นที่หลายคนอาจยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับปืนแบบนี้ไว้อย่างน่าสนใจ
1. กองทัพบกต้องการใช้กระสุนขนาด .45 นิ้ว เพราะกระสุนขนาด .38 นิ้ว มีประสิทธิภาพต่ำในการต่อกรกับ Moros (กลุ่มกบฏติดอาวุธในประเทศฟิลิปปินส์): ในความเป็นจริงนั้น ในกองทัพบกสหรัฐมีการใช้กระสุนขนาด .45 นิ้วอยู่ก่อนที่จะใช้กระสุน .38 นิ้วของ Colt เสียอีก แต่มีความต้องการกระสุนขนาด .45 นิ้วมากขึ้นเนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
2. ปืน 1911 จะต้องหลวมๆหน่อยจึงจะมีความน่าเชื่อถือในการทำงานของปืน: ปืนที่หลวมเล็กน้อยสามารถเป็นปืนที่ทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือ อาการหลวมๆของปืนเป็นเพียง “อาการ (Symptom)” ไม่ใช่ “สาเหตุ (Causes)” ปืนซึ่งทำงานได้อย่างน่าเชื่อถืออาจพบได้ทั้งปืนที่หลวมและไม่หลวม
3. คุณต้องการน้ำหนักไกปืนที่เบาเพื่อที่จะยิงปืน 1911 ได้ดี: ไกปืนที่ราบลื่นทุกครั้งที่ยิงจะทำให้ง่ายในการทำความคุ้นเคยฝึกฝนให้ชำนาญ ส่วนไกปืนที่เบาเกินไปอาจทำให้เกิดการกระตุกขณะเหนี่ยวไกได้ง่าย
4. วิธีทดสอบไกปืน 1911 ที่ดีที่สุด คือ การกระชากสไลด์ในขณะที่รังเพลิงไม่มีกระสุน: การกระชากสไลด์ลักษณะนี้ เมื่อดึงสไลด์ถอยหลังจนสุดแล้วปลอยสไลด์เพื่อเดินหน้าโดยอาศัยแรงดีดกลับของสปริง หากไม่มีกระสุนในรังเพลิงคอยชะลอรับไว้อาจทำให้เกิดความเสียหายกับปืนได้
5. คุณจะยิงปืนได้เร็วขึ้นถ้าใช้สปริงที่อ่อนขึ้น: นั้นไม่จริงเลย สปริงที่อ่อนๆไม่ได้ทำให้ยิงได้เร็วขึ้น ถึงแม้จะมีนักยิงปืนเร็วหลายคนใช้วิธีนี้กับการยิงของพวกเขา แต่ความแตกต่างนั้นมันน้อยมากๆตราบใดที่คุณไม่สามารถยิงปืนได้อย่างคงเส้นคงวาตลอดการแข่งขัน การปรับสปริงก็ไม่ช่วยอะไร
6. บัฟเฟอร์กันกระแทก (Shock buffers) ช่วยยืดอายุโครงปืน: ปืน 1911 บางกระบอกอาจทำงานอย่างไม่น่าเชื้อถือได้เมื่อใช้บัฟเฟอร์ ถ้าคุณใช้มันแล้วปืนไม่ก่อปัญหาอะไรและรู้สึกสบายใจที่ได้ใช้ก็สามารถใช้ต่อไปได้ แต่ถ้ามันก่อปัญหาก็จงอย่าใช้
7. ปืน 1911 ทุกกระบอกต้องถูกปรับแต่งโดยช่างปืนเพื่อความเที่ยงตรงและความแม่นยำ: ถ้าเป็นในสมัยก่อนคำกล่าวนี้อาจเป็นจริง แต่ไม่เป็นเช่นนั้นแล้วในปัจจุบันนี้ ดังนั้นถ้าคุณยิงปืน 1911 ได้ไม่แม่นยำต้องมาดูที่ตัวผู้ยิงมากกว่าตัวปืนเสียแล้ว
8. ร่องป้อนกระสุน (Feed ramp) จะต้องขัดให้เงาเพื่อการป้อนกระสุนได้อย่างน่าเชื่อถือ: ถ้า Feed ramp อยู่ในตำแหน่งและมุมที่ถูกต้อง การป้อนกระสุนจะไม่มีปัญหาคุณก็ไม่จำเป็นต้องไปขัด แต่หากมีปัญหาก็ให้หาสาเหตุ (ควรให้ช่างปืนช่วยหาสาเหตุ)
9. แรงถีบของปืนที่ใช้กระสุนขนาด .45 นิ้ว นั้นแรงเกินไปสำหรับนักยิงปืนจำนวนมาก: เขาอยากจะบอกว่ามีนักกีฬายิงปืนผู้หญิงที่ใช้กระสุนขนาดนี้จำนวนไม่น้อยที่เขารู้จัก บางคนสูงไม่ถึงห้าฟุตครึ่งเสียด้วยซ้ำ แรงถีบของกระสุนขนาดนี้ไม่ได้มากเกินควบคุมได้
ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติแบบ 1911 เป็นปืนซึ่งพิสูจน์ตัวเองได้อย่างโดดเด่นในสมรภูมิต่างๆทั่วโลกจนเป็นที่ยอมรับ เป็นหนึ่งในปืนที่เป็นอมตะ และเป็นตำนานของวงการปืน
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Nine 1911 Myths ของ Patrick Sweeney
ปีนี้เป็นปีที่ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติแบบ 1911 มีอายุครบ 100 ปี อีกทั้งเป็นปืนที่ผมชื่นชอบเป็นการส่วนตัว จึงขอนำเสนอบทความเกี่ยวกับปืน 1911 มากเป็นพิเศษ
นาย Patrick Sweeney ได้ให้ข้อคิดเห็นที่หลายคนอาจยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับปืนแบบนี้ไว้อย่างน่าสนใจ
1. กองทัพบกต้องการใช้กระสุนขนาด .45 นิ้ว เพราะกระสุนขนาด .38 นิ้ว มีประสิทธิภาพต่ำในการต่อกรกับ Moros (กลุ่มกบฏติดอาวุธในประเทศฟิลิปปินส์): ในความเป็นจริงนั้น ในกองทัพบกสหรัฐมีการใช้กระสุนขนาด .45 นิ้วอยู่ก่อนที่จะใช้กระสุน .38 นิ้วของ Colt เสียอีก แต่มีความต้องการกระสุนขนาด .45 นิ้วมากขึ้นเนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น
2. ปืน 1911 จะต้องหลวมๆหน่อยจึงจะมีความน่าเชื่อถือในการทำงานของปืน: ปืนที่หลวมเล็กน้อยสามารถเป็นปืนที่ทำงานได้อย่างน่าเชื่อถือ อาการหลวมๆของปืนเป็นเพียง “อาการ (Symptom)” ไม่ใช่ “สาเหตุ (Causes)” ปืนซึ่งทำงานได้อย่างน่าเชื่อถืออาจพบได้ทั้งปืนที่หลวมและไม่หลวม
3. คุณต้องการน้ำหนักไกปืนที่เบาเพื่อที่จะยิงปืน 1911 ได้ดี: ไกปืนที่ราบลื่นทุกครั้งที่ยิงจะทำให้ง่ายในการทำความคุ้นเคยฝึกฝนให้ชำนาญ ส่วนไกปืนที่เบาเกินไปอาจทำให้เกิดการกระตุกขณะเหนี่ยวไกได้ง่าย
4. วิธีทดสอบไกปืน 1911 ที่ดีที่สุด คือ การกระชากสไลด์ในขณะที่รังเพลิงไม่มีกระสุน: การกระชากสไลด์ลักษณะนี้ เมื่อดึงสไลด์ถอยหลังจนสุดแล้วปลอยสไลด์เพื่อเดินหน้าโดยอาศัยแรงดีดกลับของสปริง หากไม่มีกระสุนในรังเพลิงคอยชะลอรับไว้อาจทำให้เกิดความเสียหายกับปืนได้
5. คุณจะยิงปืนได้เร็วขึ้นถ้าใช้สปริงที่อ่อนขึ้น: นั้นไม่จริงเลย สปริงที่อ่อนๆไม่ได้ทำให้ยิงได้เร็วขึ้น ถึงแม้จะมีนักยิงปืนเร็วหลายคนใช้วิธีนี้กับการยิงของพวกเขา แต่ความแตกต่างนั้นมันน้อยมากๆตราบใดที่คุณไม่สามารถยิงปืนได้อย่างคงเส้นคงวาตลอดการแข่งขัน การปรับสปริงก็ไม่ช่วยอะไร
6. บัฟเฟอร์กันกระแทก (Shock buffers) ช่วยยืดอายุโครงปืน: ปืน 1911 บางกระบอกอาจทำงานอย่างไม่น่าเชื้อถือได้เมื่อใช้บัฟเฟอร์ ถ้าคุณใช้มันแล้วปืนไม่ก่อปัญหาอะไรและรู้สึกสบายใจที่ได้ใช้ก็สามารถใช้ต่อไปได้ แต่ถ้ามันก่อปัญหาก็จงอย่าใช้
7. ปืน 1911 ทุกกระบอกต้องถูกปรับแต่งโดยช่างปืนเพื่อความเที่ยงตรงและความแม่นยำ: ถ้าเป็นในสมัยก่อนคำกล่าวนี้อาจเป็นจริง แต่ไม่เป็นเช่นนั้นแล้วในปัจจุบันนี้ ดังนั้นถ้าคุณยิงปืน 1911 ได้ไม่แม่นยำต้องมาดูที่ตัวผู้ยิงมากกว่าตัวปืนเสียแล้ว
8. ร่องป้อนกระสุน (Feed ramp) จะต้องขัดให้เงาเพื่อการป้อนกระสุนได้อย่างน่าเชื่อถือ: ถ้า Feed ramp อยู่ในตำแหน่งและมุมที่ถูกต้อง การป้อนกระสุนจะไม่มีปัญหาคุณก็ไม่จำเป็นต้องไปขัด แต่หากมีปัญหาก็ให้หาสาเหตุ (ควรให้ช่างปืนช่วยหาสาเหตุ)
9. แรงถีบของปืนที่ใช้กระสุนขนาด .45 นิ้ว นั้นแรงเกินไปสำหรับนักยิงปืนจำนวนมาก: เขาอยากจะบอกว่ามีนักกีฬายิงปืนผู้หญิงที่ใช้กระสุนขนาดนี้จำนวนไม่น้อยที่เขารู้จัก บางคนสูงไม่ถึงห้าฟุตครึ่งเสียด้วยซ้ำ แรงถีบของกระสุนขนาดนี้ไม่ได้มากเกินควบคุมได้
ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติแบบ 1911 เป็นปืนซึ่งพิสูจน์ตัวเองได้อย่างโดดเด่นในสมรภูมิต่างๆทั่วโลกจนเป็นที่ยอมรับ เป็นหนึ่งในปืนที่เป็นอมตะ และเป็นตำนานของวงการปืน
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Nine 1911 Myths ของ Patrick Sweeney
Friday, January 14, 2011
Mozambique Drill
Mozambique Drill
Mozambique Drill หรือที่เรียกว่า Failure to Stop Drill หรือ Failure Drill ซึ่งคิดค้นขึ้นโดย Jeff Cooper เช่นกัน เป็นรูปแบบหนึ่งของการฝึกยิงต่อสู้ในระยะใกล้ (Close-quarter shooting technique)
เป็นการฝึกยิงเร็ว 3 นัดติดต่อกัน โดยยิง 2 นัดซ้อน (Double tap) ที่เป้าหุ่นคนบริเวณลำตัว และยิงอีกหนึ่งนัดที่เป้าหมายบริเวณศีรษะ Jeff Cooper จึงเรียกการยิงเร็วสามนัดติดต่อกันแบบนี้ว่า “Triple tab”
การฝึกยิงแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเหตุการณ์จริง ครั้งเมื่อนาย Mike Rousseau ทำงานเป็นทหารรับจ้างอยู่ในประเทศโมแซมบิก (Mozambique) ในขณะนั้นเขาได้เผชิญหน้ากับชายร่างใหญ่ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มติดอาวุธเรียกร้องอิสรภาพ (The Liberation Front of Mozambique, FRELIMO) ที่สนามบิน Lourenco Marques (หรือ Maputo ในปัจจุบัน)
เขามีเพียงปืนพก Browning HP35 ส่วนฝ่ายตรงข้ามมีปืนกลมือ AK-47 เขาได้ยิงไปยังคนร้ายสองนัดซ้อน (Double tap) บริเวณหน้าอกอย่างรวดเร็ว ซึ่งตามปกติควรหยุดหรือสังหารเป้าหมายได้แล้ว แต่ครั้งนั้นกลับไม่สามารถหยุดชายคนนั้นไว้ได้ เขาจึงได้พยายามเล็งไปที่ศีรษะของคนร้ายและโชคดีที่กระสุนนัดที่สามไปถูกบริเวณต้นคอตัดไขสันหลังพอดี
Jeff Cooper จึงนำเหตุการณ์นี้มาประยุกต์ใช้ในการฝึกยิงปืนระบบต่อสู้ของเขา และเป็นหนึ่งในรูปแบบการฝึกยิงปืนที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายไปทั่วโลก
ทักษะนี้มีประโยชน์ในกรณีที่การยิงต่อสู้ด้วยกระสุนหนึ่งหรือสองนัดแรกบริเวณลำตัวหรือหน้าอกไม่สามารถหยุดคนร้ายไว้ได้ การยิงบริเวณศีรษะ (Head shot) จะสามารถหยุดภัยคุกคามได้อย่างแน่นอน แต่เนื่องจาก “ศีรษะ” เป็นเป้าหมายเล็กและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การยิงให้ถูกบริเวณนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ดังนั้นมักไม่แนะนำให้เลือกยิงบริเวณศีรษะเป็นเป้าหมายแรกในการต่อสู้ป้องกันตัว เพราะมีโอกาสพลาดเป้าหมายได้สูง
การฝึก Mozambique Drill จะเพิ่มขีดความสามารถของผู้รับการฝึกในการเผชิญเหตุได้อย่างดี
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Mozambique Drill ของ Wikipedia
Mozambique Drill หรือที่เรียกว่า Failure to Stop Drill หรือ Failure Drill ซึ่งคิดค้นขึ้นโดย Jeff Cooper เช่นกัน เป็นรูปแบบหนึ่งของการฝึกยิงต่อสู้ในระยะใกล้ (Close-quarter shooting technique)
เป็นการฝึกยิงเร็ว 3 นัดติดต่อกัน โดยยิง 2 นัดซ้อน (Double tap) ที่เป้าหุ่นคนบริเวณลำตัว และยิงอีกหนึ่งนัดที่เป้าหมายบริเวณศีรษะ Jeff Cooper จึงเรียกการยิงเร็วสามนัดติดต่อกันแบบนี้ว่า “Triple tab”
การฝึกยิงแบบนี้ได้รับอิทธิพลมาจากเหตุการณ์จริง ครั้งเมื่อนาย Mike Rousseau ทำงานเป็นทหารรับจ้างอยู่ในประเทศโมแซมบิก (Mozambique) ในขณะนั้นเขาได้เผชิญหน้ากับชายร่างใหญ่ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มติดอาวุธเรียกร้องอิสรภาพ (The Liberation Front of Mozambique, FRELIMO) ที่สนามบิน Lourenco Marques (หรือ Maputo ในปัจจุบัน)
เขามีเพียงปืนพก Browning HP35 ส่วนฝ่ายตรงข้ามมีปืนกลมือ AK-47 เขาได้ยิงไปยังคนร้ายสองนัดซ้อน (Double tap) บริเวณหน้าอกอย่างรวดเร็ว ซึ่งตามปกติควรหยุดหรือสังหารเป้าหมายได้แล้ว แต่ครั้งนั้นกลับไม่สามารถหยุดชายคนนั้นไว้ได้ เขาจึงได้พยายามเล็งไปที่ศีรษะของคนร้ายและโชคดีที่กระสุนนัดที่สามไปถูกบริเวณต้นคอตัดไขสันหลังพอดี
Jeff Cooper จึงนำเหตุการณ์นี้มาประยุกต์ใช้ในการฝึกยิงปืนระบบต่อสู้ของเขา และเป็นหนึ่งในรูปแบบการฝึกยิงปืนที่ได้รับความนิยมและแพร่หลายไปทั่วโลก
ทักษะนี้มีประโยชน์ในกรณีที่การยิงต่อสู้ด้วยกระสุนหนึ่งหรือสองนัดแรกบริเวณลำตัวหรือหน้าอกไม่สามารถหยุดคนร้ายไว้ได้ การยิงบริเวณศีรษะ (Head shot) จะสามารถหยุดภัยคุกคามได้อย่างแน่นอน แต่เนื่องจาก “ศีรษะ” เป็นเป้าหมายเล็กและเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา การยิงให้ถูกบริเวณนี้จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก ดังนั้นมักไม่แนะนำให้เลือกยิงบริเวณศีรษะเป็นเป้าหมายแรกในการต่อสู้ป้องกันตัว เพราะมีโอกาสพลาดเป้าหมายได้สูง
การฝึก Mozambique Drill จะเพิ่มขีดความสามารถของผู้รับการฝึกในการเผชิญเหตุได้อย่างดี
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Mozambique Drill ของ Wikipedia
Friday, January 7, 2011
One – Handed Shooting
One – Handed Shooting
ทฤษฏีการยิงปืนต่อสู้ได้เปลี่ยนไปมากในช่วง 50 กว่าปีมานี้ แต่เดิมนั้นนิยมใช้เป้าวงกลมดำ (Bulleye targets) ซึ่งง่ายในการให้คะแนนความแม่นยำ ใช้ในการฝึกยิงปืนด้วยมือเดียว ปัจจุบันเป้ามีการพัฒนาไปมากและเป้าวงกลมดำนิยมน้อยลงในการยิงปืนระบบต่อสู้
การเรียนรู้พื้นฐานการยิงปืนมือเดียวนั้นง่าย แต่การนำไปประยุกค์ใช้นั้นสิยากโดยเฉพาะการยิงหลายนัดติดต่อกัน การควบคุมปืนเพื่อทำการยิงได้ดีในทุกนัดนั้นทำได้ไม่ง่ายเลย จึงต้องอาศัยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
เมื่อทำการยิงปืนมือเดียวได้ดีแล้วการฝึกยิงสองมือก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด เพราะต่างก็ใช้พื้นฐานอย่างเดียวกัน
นาย Robert Kolesar แนะนำว่า ควรฝึกยิงปืนมือเดียวให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระยะที่ดีสำหรับการฝึกก็คือ 20 หลา ไม่ต้องรีบร้อนในการยิงเพราะความเร็วจะมาพร้อมกับความชำนาญเอง แนวคิดของการฝึกก็เพียงเพื่อฝึกใช้พื้นฐานการยิงปืนที่ดีเท่านั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการเล็งและการเหนี่ยวไก (Sight alignment and Trigger control)
เมื่อคุณมีพื้นฐานการยิงปืนที่ดีแล้วก็สามารถนำไปปรับใช้กับการฝึกยิงรูปแบบอื่นๆได้อย่างไม่ยากเย็นนัก นาย Jeff Cooper เคยกล่าวไว้นานแล้วว่า กระบวนการเรียนรู้ให้เริ่มจาก การคลาน เดิน วิ่ง (Crawl Walk, Run method) หรือเริ่มจากง่ายไปหายากนั้นเอง ไม่ควรรีบร้อนก้าวกระโดดไปเร็วเกินไป
ควรใช้เวลาส่วนใหญ่ในการฝึกยิงอย่างช้าๆ เป้าหมายในการฝึก คือ ควรสามารถส่งกระสุน 10 นัด เข้าเป้าวงกลมดำตรงกลางได้ในระยะ 20 หลา
หลังจากทำได้เช่นนั้นแล้วจึงเริ่มฝึกหัดยิงให้เร็วขึ้น ยิงหลายเป้าหมาย เป็นต้น เมื่อฝึกยิงในหลักสูตรที่มีความซับซ้อนมากขึ้นก็อย่าลืมพื้นฐานการยิงปืนที่ดีเหล่านี้ หลีกเลี่ยงการยิงเร็วโดยไม่จำเป็น
การฝึกยิงปืนมือเดียวกับเป้าวงกลมดำถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่ง ส่วนการฝึกยิงปืนสองมือ ยิงหลายเป้าหมายหรือการฝึกยิงที่ซับซ้อนขึ้นถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของตัวคุณเอง
TAS สอนพื้นฐานการยิงปืนทั้งการยิงปืนมือเดียวและสองมืออย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Bulleye for Combat ของ Robert Kolesa
ทฤษฏีการยิงปืนต่อสู้ได้เปลี่ยนไปมากในช่วง 50 กว่าปีมานี้ แต่เดิมนั้นนิยมใช้เป้าวงกลมดำ (Bulleye targets) ซึ่งง่ายในการให้คะแนนความแม่นยำ ใช้ในการฝึกยิงปืนด้วยมือเดียว ปัจจุบันเป้ามีการพัฒนาไปมากและเป้าวงกลมดำนิยมน้อยลงในการยิงปืนระบบต่อสู้
ในการฝึกตำรวจไม่ว่าจะใหม่หรือเก่าที่นครลอสแอนเจลีส (LAPD) ยังคงเน้นการยิงปืนมือเดียวและสองมือ ครูฝึกคิดว่าการยิงปืนมือเดียวได้ดีนั้นจะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจและเพิ่มขีดความสามารถในการเผชิญเหตุกับอาชญากรรมตามท้องถนนได้อย่างดี
เมื่อทำการยิงปืนมือเดียวได้ดีแล้วการฝึกยิงสองมือก็ไม่ใช่เรื่องยากแต่อย่างใด เพราะต่างก็ใช้พื้นฐานอย่างเดียวกัน
นาย Robert Kolesar แนะนำว่า ควรฝึกยิงปืนมือเดียวให้บ่อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ และระยะที่ดีสำหรับการฝึกก็คือ 20 หลา ไม่ต้องรีบร้อนในการยิงเพราะความเร็วจะมาพร้อมกับความชำนาญเอง แนวคิดของการฝึกก็เพียงเพื่อฝึกใช้พื้นฐานการยิงปืนที่ดีเท่านั้นเอง ไม่ว่าจะเป็นการเล็งและการเหนี่ยวไก (Sight alignment and Trigger control)
เมื่อคุณมีพื้นฐานการยิงปืนที่ดีแล้วก็สามารถนำไปปรับใช้กับการฝึกยิงรูปแบบอื่นๆได้อย่างไม่ยากเย็นนัก นาย Jeff Cooper เคยกล่าวไว้นานแล้วว่า กระบวนการเรียนรู้ให้เริ่มจาก การคลาน เดิน วิ่ง (Crawl Walk, Run method) หรือเริ่มจากง่ายไปหายากนั้นเอง ไม่ควรรีบร้อนก้าวกระโดดไปเร็วเกินไป
ควรใช้เวลาส่วนใหญ่ในการฝึกยิงอย่างช้าๆ เป้าหมายในการฝึก คือ ควรสามารถส่งกระสุน 10 นัด เข้าเป้าวงกลมดำตรงกลางได้ในระยะ 20 หลา
หลังจากทำได้เช่นนั้นแล้วจึงเริ่มฝึกหัดยิงให้เร็วขึ้น ยิงหลายเป้าหมาย เป็นต้น เมื่อฝึกยิงในหลักสูตรที่มีความซับซ้อนมากขึ้นก็อย่าลืมพื้นฐานการยิงปืนที่ดีเหล่านี้ หลีกเลี่ยงการยิงเร็วโดยไม่จำเป็น
การฝึกยิงปืนมือเดียวกับเป้าวงกลมดำถือเป็นพื้นฐานที่สำคัญอย่างหนึ่ง ส่วนการฝึกยิงปืนสองมือ ยิงหลายเป้าหมายหรือการฝึกยิงที่ซับซ้อนขึ้นถือเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของตัวคุณเอง
TAS สอนพื้นฐานการยิงปืนทั้งการยิงปืนมือเดียวและสองมืออย่างถูกวิธี เพื่อให้ผู้รับการฝึกสามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ได้
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Bulleye for Combat ของ Robert Kolesa
Saturday, January 1, 2011
สวัสดีปีใหม่ 2011
สวัสดีปีใหม่ 2011
ขอให้ผู้อ่านทุกท่านและครอบครัว
- ประสบแต่ความสุขความเจริญในปีใหม่นี้
- สุขภาพแข็งแรง
- ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท
- อย่าได้มีภัยพาล
Batman
ขอให้ผู้อ่านทุกท่านและครอบครัว
- ประสบแต่ความสุขความเจริญในปีใหม่นี้
- สุขภาพแข็งแรง
- ใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท
- อย่าได้มีภัยพาล
Batman
Subscribe to:
Posts (Atom)