การยิงปืนต่อสู้ป้องกันตัวสิ่งหนึ่งที่ทุกคนอยากให้มีในปืนของเราก็คือ
การที่มีกระสุนบรรจุอยู่พร้อมใช้งานให้มากที่สุดตลอดเวลา
แน่นอนว่าเมื่อยิงปืนไปแต่ละนัดย่อมทำให้กระสุนปืนลดน้อยลงไปเรื่อยๆ
แต่ก็มีเทคนิคบริหารกระสุนปืนขณะยิงที่จะทำให้มีกระสุนพร้อมใช้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
สำหรับปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติซึ่งปกติก็สามารถบรรจุกระสุนได้มากอยู่แล้ว
แต่ขณะเผชิญภัยคุกคามร้ายแรงซึ่งมีอาวุธปืนเข้าไปเกี่ยวข้อง
โดยส่วนใหญ่แล้วเราจะไม่รอให้ยิงจนกระสุนหมดแม็กกาซีนสไลด์ค้างแล้วค่อยเปลี่ยนซองกระสุน
ที่เราเรียกว่า Emergency Reload หรือ Speed Reload
ผู้เชี่ยวชาญที่มีชื่อเสียงหลายท่านแนะนำการเปลี่ยนซองกระสุนก่อนที่กระสุนจะหมดแม็กกาซีน
เรียกว่า Tactical Reload หรือ Reload with Retention การเปลี่ยนซองกระสุนแบบนี้ทำให้เรามีกระสุนพร้อมใช้งานมากที่สุดเท่าที่จะทำได้
โดยยังมีกระสุนเหลืออยู่ในซองกระสุนซึ่งเราเปลี่ยนออกมาจากปืนเก็บไว้กับตัวอีกด้วย
Tactical Reload มีหลายวิธีทั้งปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติและปืนลูกโม่
(อ่านเพิ่มเติมได้จากบทความเรื่อง Tactical reload for a pistol วันที่ 27 Oct 2011) Tactical Reload ควรทำขณะที่เราหลบอยู่หลังที่กำบังซึ่งปลอดภัยหรืออยู่ในช่วงที่ตัวเราปลอดภัย
ไม่แนะนำเปลี่ยนซองกระสุนแบบนี้ในช่วงที่กำลังทำการยิงต่อสู้กันอย่างดุเดือด
ถึงแม้ว่าจากการศึกษาในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมาพบว่าการยิงปืนต่อสู้ในสถานการณ์จริง
(ไม่ใช่ในภาวะสงคราม) การยิงปืนต่อสู้มักจบลงอย่างรวดเร็วและวงกระสุนที่ใช้มักไม่เกิน
4 นัด แต่กระนั้นก็ไม่มีการยืนยันจำนวนกระสุนที่ใช้ว่าจะเป็นเช่นนี้ทุกครั้ง
ดังนั้นสำหรับนาย Dave Spaulding แล้ว คิดว่าการใช้
Tactical Reload มีประโยชน์อย่างมาก
และควรแก่การฝึกฝนอย่างยิ่ง
เทคนิกการบริหารกระสุนขณะทำการยิงต่อสู้ถือเป็นสิ่งสำคัญ
ไม่ว่าจะเป็น Emergency Reload และ Tactical
Reload เราสามารถฝึกฝนได้บ่อยๆที่บ้านเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญโดยใช้กระสุนปลอม
หรือ Dummy bullets เพื่อความปลอดภัย อีกทั้งเราควรมีกระสุนสำรองอยู่จำนวนหนึ่งพร้อมใช้งานได้ตลอดเวลา
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี
“สติ”
เรียบเรียงโดย
Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Reloading Under Fire ของ Dave Spaulding