Tactical Flashlight
ส่วนใหญ่การยิงปืนในสถานการณ์จริงมักเกิดขึ้นในสภาพที่มีแสงต่ำตั้งแต่ช่วงหัวค่ำจนถึงเช้ามืด ในหลายโอกาสแม้เป็นเวลากลางวันแต่ภัยคุกคามอยู่ในห้องที่ปิดมืดหรือซ่อนตัวในที่อับแสง เราอาจต้องใช้ไฟฉายประกอบการค้นหาหรือแม้แต่ร่วมกับการยิงปืน
ส่วนใหญ่การยิงปืนในสถานการณ์จริงมักเกิดขึ้นในสภาพที่มีแสงต่ำตั้งแต่ช่วงหัวค่ำจนถึงเช้ามืด ในหลายโอกาสแม้เป็นเวลากลางวันแต่ภัยคุกคามอยู่ในห้องที่ปิดมืดหรือซ่อนตัวในที่อับแสง เราอาจต้องใช้ไฟฉายประกอบการค้นหาหรือแม้แต่ร่วมกับการยิงปืน
ไฟฉายนอกจากช่วยให้สามารถแยกแยะเป้าหมายได้ง่ายแล้ว เมื่อเราส่องไฟเข้าตาภัยคุกคามเบื่องหน้าอาจทำให้ตาพล้ามัวชั่วขณะ ทำให้มีเวลาพอที่จะหนีหรือกระทำการอย่างอื่นต่อไป แต่การใช้ไฟฉายก็อาจเปิดเผยตำแหน่งที่อยู่ของเราซึ่งภัยคุกคามอาจเข้าจู่โจมเราได้ ดังนั้นการใช้ไฟฉายประกอบการยิงปืนจึงมีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ไฟฉายที่ใช้มี 3 รูปแบบหลักๆด้วยกันคือ เริ่มตั้งแต่ไฟฉายธรรมดาที่ใช้กันอยู่ทั่วไปมีปุ่มเปิด-ปิดอยู่ด้านข้างของกระบอกไฟฉาย อย่างที่สองไฟฉายที่ถือด้วยมือแต่ปุ่มเปิด-ปิดอยู่ด้านท้ายกระบอก (Tactical handheld flashlight) และสุดท้ายคือศูนย์ไฟฉายที่สามารถติดกับปืนได้โดยตรง แต่ละแบบมีข้อดี-ข้อด้อยแตกต่างกันไป
เรานิยมใช้ไฟฉายสองแบบหลังในการยิงปืนโดยเฉพาะไฟฉายแทคติค่อลที่ปุ่มเปิด-ปิดอยู่ท้ายกระบอกและถือด้วยมืออีกข้าง มีประโยชน์อย่างมากเนื่องจากใช้งานได้หลากหลายวัตถุประสงค์
การเลือกซื้อไฟฉายแทคติค่อลแบบที่ถือด้วยมือมีหลักการง่ายๆที่ต้องพิจารณาดังนี้
1. ขนาดของไฟฉาย โดยปกติไฟฉายยาว 5 ถึง 7 นิ้ว เหมาะสำหรับการพกทำงานตามปกติ โดยเฉพาะบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ต้องใช้ไฟฉายประจำ ส่วนไฟฉายที่สั่นกว่านี้สามารถใช้เป็นไฟฉายแบบพกซ่อนได้
2. ความหนาบางของไฟฉาย ไฟฉายที่ผอมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.75 นิ้วจะไม่ทำให้สะดวกมากขึ้นเมื่อพกแบบเสียบเข็มขัด แต่จะเหมาะกับการพกซ่อนในเสื้อผ้า การที่ไฟฉายผอมลงก็ต้องแลกกับความสามารถในการรวมแสงที่แย่ลง
3. แบตเตอรี่ ไฟฉายเหล่านี้มักใช้กับถ่านไฟฉาย CR123 Lithium โดยถ่านไฟฉายประเภทนี้มีอัตราการสูญเสียไฟต่ำทำให้อายุการเก็บรักษาได้นานถึงสิบปีทีเดียว แต่ก็ควรซื้อถ่านไฟฉายที่มีคุณภาพดีซึ่งอาจมีราคาแพง ไม่เช่นนั้นหากใช้ถ่านไฟฉายคุณภาพต่ำอาจไม่สามารถเก็บได้นานหรือเกิดระเบิดเองได้
4. ความแรง (Power) หรือความสว่าง มีสองหน่วยที่ใช้วัดความแรงของไฟฉาย หน่วยแรกคือ ลูเมนส์ (Lumens) เป็นการวัดประมาณแสงทั้งหมดที่หลอดไฟส่องสว่างออกมา กับอีกหน่วยหนึ่งคือ แรงเทียน (Candlepower) เป็นการวัดจุดที่สว่างที่สุดของลำแสงจากหลอดไฟ
ถ้าหลอดไฟที่มีลูเมนส์เท่ากันสองหลอดแต่หลอดที่มีแรงเทียนมากกว่าจะให้แสงที่มีความเข้มในส่วนที่รวมแสง (Focused) มากกว่าหลอดที่มีแรงเทียนต่ำกว่า โดยปกติเรามักนิยมวัดความแรงของไฟฉายด้วยหน่วย ลูเมนส์ สำหรับไฟฉายแทคติค่อลควรมีความแรงอย่างต่ำ 60 ลูเมนส์
ควรตรวจดูว่าไฟฉายนั้นรวมแสงได้ดีมากน้อยเพียงใด และมีจุดบอดอยู่กลางลำแสงหรือไม่ ไฟฉายควรสามารถรวมแสงได้ดีไม่มีจุดบอด
5. หลอดไส้หรือหลอด LED ภายในหลอดไส้จะบรรจุด้วยก๊าซเฉื่อยเพื่อให้อายุหลอดนานขึ้นและเพิ่มประสิทธิภาพ ปัจจุบันนิยมใช้ก๊าซ Xenon หรือ Halogen ส่วนหลอด LED มีประสิทธิภาพดีกว่าหลอดไส้ในแง่อายุการใช้งานและกันสะเทือน
6. ตัวสะท้อนแสง (Reflectors) ทำจากวัสดุและการออกแบบที่หลากหลาย ส่วนใหญ่ถูกออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์
7. กระจกหน้าหลอดไฟ (Window) ถ้าทำจาก Tempered Pyrex with an anti-reflective coating ถือว่าดีที่สุดขณะนี้
8. ระบบกันสะเทือน (Shock isolation) ไฟฉายที่ถือด้วยมือส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องมีระบบนี้แต่ศูนย์ไฟฉายที่ติดกับตัวปืนจำเป็นต้องมีระบบนี้ หลอดไฟ LED ไม่จำเป็นต้องมีระบบนี้
9. วัสดุทำกระบอกไฟฉาย (Body materials) ถ้าทำจากยางหรือโพลิเมอร์จะทำให้กระบอกไฟฉายไม่เย็นมากนักในหน้าหนาวและกันลื่นได้ ถ้าได้ความแข็งแรงจากเหล็กมาเสริมก็จะดีอย่างมากแต่ก็ถือว่าไม่ได้เป็นสิ่งที่จำเป็นนัก
10. ปุ่มเปิด-ปิด (Switchology) ไฟฉายที่ใช้กับการยิงปืนมักมีปุ่มเปิด-ปิดอยู่ด้านท้ายกระบอกไฟฉาย โดยส่วนใหญ่มักเป็นการเปิด-ปิดไฟฉายเพียงชั่วคราว ถ้าต้องการเปิดไฟตลอดต้องหมุนปุ่มเปิด-ปิดก่อน ส่วนไฟฉายแบบใหม่ๆมักใช้การกดปุ่มเพียงครึ่งทางเพื่อการเปิด-ปิดชั่วคราวแต่ถ้าต้องการเปิดตลอดก็กดปุ่มจนสุด
11. กันน้ำ (Waterproofing) ไฟฉายที่ดีจะกันน้ำโดยมียาง O ring ที่ฝาครอบด้านหน้าและท้ายกระบอกไฟฉายเพื่อกันน้ำ คุณสมบัติกันน้ำเป็นสิ่งจำเป็น
12. คุณภาพโดยรวม (Overall quality) มีสองประเด็นที่ต้องพิจารณาคือ ความเปราะบาง เช่นแตกหักง่ายหรือไม่ อีกประการหนึ่งคือ คุณภาพของแสงที่ออกมา ค่อนข้างเป็นนามธรรมขึ้นกับความต้องการของผู้ใช้
ข้อแนะนำ
เริ่มจากเลือกขนาดของไฟฉายที่ต้องการก่อน (ทั้งความยาวและเส้นผ่าศูนย์กลาง) ควรเลือกไฟฉายที่มีปุ่มเปิด-ปิดอยู่ท้ายกระบอกและเป็นการเปิด-ปิดแบบชั่วคราว ควรให้ความสว่างอย่างน้อย 60 ลูเมนส์ เลือกหลอดไฟแบบไหนก็ได้ถ้าคาดว่าไฟฉายไม่น่าจะตกหล่นบ่อยๆ แต่หลอด LED จะให้แสงไฟขณะที่รวมแสงกว้างกว่าหลอดไส้และมีอายุการใช้งานนานกว่า ประการสุดท้ายควรซื้อไฟฉายกระบอกที่สองด้วย ถ้าคุณไม่ได้พกไฟฉายกระบอกนี้ไว้กับตัวตลอดเวลาก็ควรเก็บมันไว้ในกระเป๋าเครื่องมือ (Gear bag) โดยไฟฉายกระบอกที่สองควรมีความสว่างมากกว่ากระบอกแรก (ซึ่งใช้พกติดตัวประจำ)
สำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ไฟฉายประจำเช่นเจ้าหน้าที่ตำรวจ มีข้อแนะนำว่าไฟฉายที่ใช้งานควรมีสองกระบอก โดยกระบอกหลักที่ใช้งานประจำควรมีความสว่างมากซึ่งอาจมีขนาดใหญ่ ส่วนกระบอกที่สอง (เป็นกระบอกสำรอง) ควรมีขนาดเล็กกว่าพกติดตัวประจำ ในกรณีที่กระบอกหลักไม่ทำงานหรือลืมนำกระบอกหลักไปทำงานด้วย อย่างน้อยก็ยังมีไฟฉายสำรองไว้ใช้งานได้ในยามจำเป็น
สำหรับประชาชนทั่วไปก็ควรมีไฟฉายสองกระบอกเช่นกัน โดยกระบอกหลักอาจเก็บไว้ที่บ้านใกล้กับปืน ส่วนอีกกระบอกก็พกติดตัวใช้ในกรณีจำเป็น
การใช้ไฟฉายประกอบการยิงปืนเป็นทักษะที่ต้องได้รับการฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ ควรเรียนรู้ข้อดีและข้อควรระวังในการใช้ไฟฉายขณะยิงปืน อีกทั้งสามารถยิงได้ไม่ว่ามีไฟฉายชนิดใดในมือ ซึ่งแทคติกเหล่านี้ TAS จะสอนใน TAS force 3
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความ Flashlight 101 ของ Ralph Mroz, Flashlight genes ของ Perry W. Hornbarger
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความ Flashlight 101 ของ Ralph Mroz, Flashlight genes ของ Perry W. Hornbarger
No comments:
Post a Comment