Shooting Behind a Car
การยิงปืนต่อสู้ในระยะประชิดจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องหาที่กำบังเพื่อปกป้องตัวเองให้พ้นจากคมกระสุนของคนร้าย รถยนต์นั่งส่วนบุคคลสามารถใช้เป็นที่กำบังได้ แต่เราต้องรู้ว่าจะใช้ส่วนใดของรถเพื่อป้องกันกระสุนจากคนร้ายได้บ้าง
กระจกรถไม่สามารถหยุดกระสุนปืนสั้นได้จึงไม่ใช่ส่วนที่ดีในการเป็นที่กำบัง ส่วนของตัวถังรถซึ่งเป็นเหล็กมีความแข็งแรงมากกว่าแต่ก็ไม่ใช่ทุกส่วนจะสามารถป้องกันกระสุนได้
หากรถจอดอยู่ในลักษณะขวางและกั้นระหว่างคนร้ายและตัวเรา ตำแหน่งที่ดีที่สุดในการกำบัง คือ หลังล้อหน้า เพราะเป็นบริเวณที่มีห้องเครื่องยนต์คอยกั้นอีกชั้นหนึ่งนอกจากตัวถังรถ ซึ่งมีความแข็งแรงมากพอที่จะหยุดกระสุนปืนสั้นทั่วไปได้ และมีล้อรถคอยป้องกันส่วนล่างหรือขาของเราในขณะเดียวกัน รองลงมาก็คือ หลังล้อหลัง ซึ่งมีตัวถังรถสองชั้นคอยกั้นไว้ โอกาสที่กระสุนจะทะลุผ่านตัวถังทั้งสองฝั่งมีน้อยลง แต่ก็ยังปลอดภัยน้อยกว่าหลังล้อหน้า
หากรถจอดอยู่ในแนวหันหน้าหรือท้ายรถเข้าหาคนร้าย การอยู่ส่วนท้ายสุดของรถก็ถือว่าปลอดภัยเพราะมีห้องเครื่องยนต์และตัวถังรถหลายชั้นคอยกั้นอยู่ แต่ต้องระวังส่วนล่างของร่างกาย เช่น ขา ซึ่งจะไม่มีการปกป้อง
การยืนยิงหลังประตูรถที่เปิดอยู่อาจไม่ใช่ที่กำบังที่ดีนัก เพราะกระสุนยังสามารถทะลุกระจกหรือประตูผ่านมาถึงเราได้ และไม่ปกป้องส่วนล่างของร่างกาย แต่ในกรณีจำเป็นการใช้ประตูรถบังไว้ก่อนก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรเลย แล้วรีบเคลื่อนที่หลบไปยังที่กำบังซึ่งปลอดภัยกว่าโดยเร็วที่สุด
การนั่งอยู่ในรถอาจไม่ปลอดภัยเพราะกระสุนปืนสามารถทะลุกระจกและตัวถังรถเข้ามาได้โดยเฉพาะจากด้านข้าง ซึ่งประตูรถเพียงชั้นเดียวอาจไม่แข็งแรงพอที่จะหยุดกระสุนปืนได้
การนั่ง นอน หรือยืนยิงหลังที่กำบังควรอยู่ห่างจากที่กำบังประมาณหนึ่งช่วงแขนโดยหันหน้าเข้าหาภัยคุกคามตลอดเวลา ในการยิงให้ยื่นหรือโผล่ส่วนของร่างกายออกไปพ้นที่กำบังให้น้อยที่สุด (อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง Shooting behind the cover วันที่ 23 Dec 2009)
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
เคล็ดลับยิงปืนเพื่อป้องกันตัว เล่ม 2
-
*เคล็ดลับยิงปืนเพื่อป้องกันตัว เล่ม 2*
หาซื้อได้แล้วที่ *Naiin.com, Ookbee.com*
อีบุ๊กฉบับสมบูรณ์ชุดแรกที่มีทั้งเนื้อหา ภาพประกอบและคลิป
เพื่อให้เข้าใจง...
7 years ago
No comments:
Post a Comment