Instinct Shooting
Instinct Shooting หรือการยิงปืนด้วยสัญชาติญาณ คำๆนี้สามารถสร้างความแตกต่างระหว่างความเป็นกับความตายให้กับการยิงปืนในระบบต่อสู้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ หลายคนคงคิดว่าคนที่ยิงปืนเก่งต้องสามารถส่งกระสุนเข้าเป้าวงกลม 10 แต้มได้จำนวนมากที่สุด ซึ่งก็ไม่ผิดสำหรับการยิงปืนแข่งขันเอาคะแนนซึ่งรางวัลของชัยชนะคือถ้วยรางวัลเท่านั้น แต่สำหรับการยิงปืนระบบต่อสู้ซึ่งรางวัลสำหรับผู้ชนะคือการมีชีวิตรอดในขณะที่บทลงโทษของผู้แพ้คือความตายแล้ว ความแม่นยำระดับนี้แทบไม่มีความหมายเลยถ้าคุณไม่สามารถส่งกระสุนนัดแรกออกไปและสามารถหยุดยั้งภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นได้ก่อนที่คุณจะถูกยิงล้มลง
การยิงต่อสู้กันในสถานการณ์จริงส่วนใหญ่อย่างเช่นในสงครามเวียดนามซึ่งเต็มไปด้วยป่าทึบ การยิงกันมักเกิดในระยะ 50 ฟุตหรือน้อยกว่า (ซึ่งถือว่าใกล้มากเมื่อเทียบกับระยะยิงหวังผลของปืนยาว) ยิ่งถ้าเป็นในเมืองระยะยิงอาจต่ำกว่า 7 หลาลงมา การยิงปืนด้วยสัญชาติญาณจะมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อไม่มีเวลามากพอที่จะเล็งปืนอย่างละเอียด หรือเราอยู่ในที่กำบังที่ปลอดภัย
คำว่า Instinct Shooting มีใช้กันในหลายชื่อ อาทิเช่น Instinct Combat Shooting, Quick Kill, Shoot Where You Look, Point Shooting เป็นต้น ซึ่งโดยหลักการแล้วคล้ายกันแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ
บิดาของ Instinct Shooting คือ นาย Bobby Lamar (Lucky) McDaniel ชาวอเมริกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1925 ถึง 1982 โดยผู้คิดค้นวิธีการยิงปืนรูปแบบนี้ไม่ปรากฏชัดว่าเป็นใครแต่นาย Lucky McDaniel คนนี้เป็นผู้ที่ทำให้การยิงปืนวิธีนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วสหรัฐ ซึ่งในสมัยนั้นถึงกับเรียกวิธีการยิงปืนแบบนี้ว่า Lucky’s Instinct Shooting
ปัจจุบันนี้วิธีการยิงปืนด้วยสัญชาติญาณได้รับการสอนอย่างเป็นทางการในกองทัพของหลายประเทศ รวมทั้งตำรวจทั่วโลก นอกจากนั้นยังมีการสอนในภาคประชาชนด้วยเช่นกัน เพื่อใช้ในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินหรือใช้ในเกมส์กีฬา (กีฬาล่าสัตว์, BB gun เป็นต้น)
นาย Lucky คนนี้ได้พัฒนาเทคนิคการยิงปืนของตนเองขึ้นมาในปี ค.ศ. 1954 ด้วยการใช้ปืน BB ที่ไม่มีศูนย์เล็ง (สมัยนั้น BB gun เป็นปืนยาวครับ) เขาสอนเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายและนายพรานล่านกเป็นหลัก ต่อมาเขาก็พัฒนาเทคนิคการยิงของเขาไปสู่การยิงที่เรียกว่า Quick Kill ซึ่งได้สอนให้แก่บรรดาทหารสหรัฐระหว่างสงครามเวียดนาม
Instinct Shooting หรือการยิงปืนด้วยสัญชาติญาณ คำๆนี้สามารถสร้างความแตกต่างระหว่างความเป็นกับความตายให้กับการยิงปืนในระบบต่อสู้ได้อย่างไม่น่าเชื่อ หลายคนคงคิดว่าคนที่ยิงปืนเก่งต้องสามารถส่งกระสุนเข้าเป้าวงกลม 10 แต้มได้จำนวนมากที่สุด ซึ่งก็ไม่ผิดสำหรับการยิงปืนแข่งขันเอาคะแนนซึ่งรางวัลของชัยชนะคือถ้วยรางวัลเท่านั้น แต่สำหรับการยิงปืนระบบต่อสู้ซึ่งรางวัลสำหรับผู้ชนะคือการมีชีวิตรอดในขณะที่บทลงโทษของผู้แพ้คือความตายแล้ว ความแม่นยำระดับนี้แทบไม่มีความหมายเลยถ้าคุณไม่สามารถส่งกระสุนนัดแรกออกไปและสามารถหยุดยั้งภัยคุกคามที่จะเกิดขึ้นขณะนั้นได้ก่อนที่คุณจะถูกยิงล้มลง
การยิงต่อสู้กันในสถานการณ์จริงส่วนใหญ่อย่างเช่นในสงครามเวียดนามซึ่งเต็มไปด้วยป่าทึบ การยิงกันมักเกิดในระยะ 50 ฟุตหรือน้อยกว่า (ซึ่งถือว่าใกล้มากเมื่อเทียบกับระยะยิงหวังผลของปืนยาว) ยิ่งถ้าเป็นในเมืองระยะยิงอาจต่ำกว่า 7 หลาลงมา การยิงปืนด้วยสัญชาติญาณจะมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อไม่มีเวลามากพอที่จะเล็งปืนอย่างละเอียด หรือเราอยู่ในที่กำบังที่ปลอดภัย
คำว่า Instinct Shooting มีใช้กันในหลายชื่อ อาทิเช่น Instinct Combat Shooting, Quick Kill, Shoot Where You Look, Point Shooting เป็นต้น ซึ่งโดยหลักการแล้วคล้ายกันแตกต่างกันในรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ
บิดาของ Instinct Shooting คือ นาย Bobby Lamar (Lucky) McDaniel ชาวอเมริกัน ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ. 1925 ถึง 1982 โดยผู้คิดค้นวิธีการยิงปืนรูปแบบนี้ไม่ปรากฏชัดว่าเป็นใครแต่นาย Lucky McDaniel คนนี้เป็นผู้ที่ทำให้การยิงปืนวิธีนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายไปทั่วสหรัฐ ซึ่งในสมัยนั้นถึงกับเรียกวิธีการยิงปืนแบบนี้ว่า Lucky’s Instinct Shooting
ปัจจุบันนี้วิธีการยิงปืนด้วยสัญชาติญาณได้รับการสอนอย่างเป็นทางการในกองทัพของหลายประเทศ รวมทั้งตำรวจทั่วโลก นอกจากนั้นยังมีการสอนในภาคประชาชนด้วยเช่นกัน เพื่อใช้ในการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินหรือใช้ในเกมส์กีฬา (กีฬาล่าสัตว์, BB gun เป็นต้น)
นาย Lucky คนนี้ได้พัฒนาเทคนิคการยิงปืนของตนเองขึ้นมาในปี ค.ศ. 1954 ด้วยการใช้ปืน BB ที่ไม่มีศูนย์เล็ง (สมัยนั้น BB gun เป็นปืนยาวครับ) เขาสอนเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายและนายพรานล่านกเป็นหลัก ต่อมาเขาก็พัฒนาเทคนิคการยิงของเขาไปสู่การยิงที่เรียกว่า Quick Kill ซึ่งได้สอนให้แก่บรรดาทหารสหรัฐระหว่างสงครามเวียดนาม
หลักการของ Instinct Shooting/ Quick Kill นั้นง่ายมากสามารถเรียนรู้ได้ในระยะเวลาอันสั้น เพียงคุณใช้นิ้วของมือข้างตาถนัด (มือและตาข้างถนัดมักเป็นข้างเดียวกัน) ชี้เป็นแนวยาวไปยังวัตถุที่คุณต้องการยิง โดยคุณไม่ต้องมองนิ้วที่ชี้ออกไปให้มองวัตถุเป็นหลัก ทันทีที่มองเห็นวัตถุชัดคุณก็สามารถยิงออกไปได้เลย
เขายังบอกอีกด้วยว่า คุณต้องวางใจในพระเจ้าที่ทรงประทานความสามารถในการชี้และการมองให้ชัด (Ability to point and focus) มาให้แก่เรา วิธีการยิงแบบนี้จะรวดเร็ว แม่นยำและเรียบง่าย เมื่อเป้าหมายปรากฏขึ้นในระยะใกล้เพียงพอ ความสำเร็จสำหรับการจัดการกับเป้าหมายขึ้นอยู่กับ “ความเร็ว ปฏิกิริยา ร่วมกับความแม่นยำ (Speed, Reaction, Accuracy)” ความอยู่รอดของคุณขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้
ตาข้างถนัด : ก่อนอื่นคงต้องรู้ว่าตาข้างถนัดเป็นข้างไหน ส่วนใหญ่ตากับมือข้างถนัดจะเป็นข้างเดียวกัน แต่ถ้าไม่แน่ใจก็ทำการทดสอบง่ายๆดังนี้ ให้ยกนิ้วชี้ขึ้นมาหนึ่งข้างแล้วชี้ไปที่วัตถุใดวัตถุหนึ่งโดยที่วัตถุนั้นห่างจากปลายนิ้วไม่มากนัก จำภาพที่เห็นไว้แล้วยกมืออีกข้างขึ้นมาปิดตาทีละข้างขณะที่ยังมองวัตถุนั้นอยู่ (นิ้วยังชี้อยู่นะครับ) ตาข้างที่ภาพคลาดเคลื่อนไปจากตอนที่เราดูด้วยสองตาน้อยที่สุดก็คือตาข้างถนัด
การถือปืน : แนวลำกล้องอยู่ใต้ตาข้างถนัด มองผ่านแนวปืนออกไปโดยมองชัดที่วัตถุเท่านั้น (ไม่มองศูนย์ปืนเลย)
ท่ายืน : ยืนตามสบายโดยเท้าแยกห่างจากกันเล็กน้อย โน้มตัวเข้าหาเป้าเล็กน้อย เคลื่อนที่ไปพร้อมกับเป้า
การมองชัด (Focus) : สายตามองกว้างๆหาเป้าหมายก่อน เมื่อเห็นเป้าหมายแล้วให้เพ่งมองไปที่จุดใดจุดหนึ่งของเป้าหมายนั้น คล้ายๆกับศูนย์เลเซอร์ที่จี้ไปที่จุดนั้น อย่าละสายตาออกจากเป้าหมายเป็นอันขาด
มีการสอน Quick Kill ให้กับทหารราบ 1300 นายของสหรัฐทุกสัปดาห์ในศูนย์ฝึกที่ Fort Benning พบว่าหลังการฝึกครึ่งหนึ่งของผู้รับการฝึกสามารถยิงเหรียญเพนนีกลางอากาศได้ และมีประมาณ 5 เปอร์เซ็นต์ที่สามารถยิงกระสุน BB ด้วยกระสุน BB กลางอากาศได้
กุญแจสำคัญของความสำเร็จในการยิงปืนด้วยสัญชาติญาณก็คือ ทำให้ปืนเป็นส่วนขยายของตา ครูฝึกที่ Fort Benning แนะนำว่าควรเปิดตายิงทั้งสองข้างแต่ให้มองไปเหนือเป้าหมายที่จะยิงเล็กน้อยเพราะส่วนใหญ่แล้วแนวกระสุนเมื่อยิงด้วยสัญชาติญาณมักกินต่ำเล็กน้อย และที่สำคัญไม่ต้องเล็ง ที่ Fort Benning ทหารจะฝึกกับ BB gun ที่ระยะ 15 ฟุต (ระยะไกลสุดของกระสุน BB) โดยปืนที่ใช้จะถูกปิดศูนย์เล็งเอาไว้
สำหรับ TAS แล้วการยิงด้วยสัญชาติญาณเป็นหลักสำคัญข้อหนึ่งที่เริ่มสอนตั้งแต่ระดับพื้นฐาน (TAS force 1) และมีความเข้มข้นมากขึ้นเรื่อยๆในระดับการฝึกอบรมที่สูงขึ้นไป เนื่องจากเราตระหนักว่าการยิงในสถานการณ์จริงนั้นมักเกิดขึ้นในระยะใกล้และในภาวะที่มีแสงต่ำ ดังนั้นการเล็งยิงอย่างละเอียดจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมนัก แต่ TAS ก็ไม่ได้ปฏิเสธบทบาทและความสำคัญของการยิงปืนที่ต้องเล็งอย่างละเอียดโดยเฉพาะเมื่อเป้าหมายอยู่ไกลออกไป หรือเราอยู่หลังที่กำบังที่ปลอดภัย
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจาก Time magazine, Rutland’s instinct shooting
No comments:
Post a Comment