Friday, May 21, 2010

Stopping power

Stopping power



ในการเลือกซื้ออาวุธปืนเพื่อการปกป้องชีวิตและทรัพย์สินนั้น นอกจากต้องพิจารณาชนิดและคุณสมบัติของอาวุธปืน เช่น ปืนลูกโม่ ปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ หรือ ปืนลูกซอง ในแง่ของปืนสั้นแล้วยังต้องคำนึงถึงชนิดของกระสุนที่จะใช้ด้วย โดยพิจรณาจากอำนาจหยุดยั้งของกระสุน (Stopping power) เป็นสำคัญ อีกทั้งความสะดวกในการหากระสุนมาใช้งานและฝึกซ้อม หลังจากนั้นก็นำข้อมูลต่างๆทั้งข้อดี-ข้อเสียมาประกอบการพิจารณาเลือกซื้ออาวุธปืนให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ในการใช้งานของเรา


มีการศึกษาประสิทธิภาพของกระสุนปืนหลายการศึกษา มีทั้งการศึกษาในห้องปฏิบัติการและจากสถิติซึ่งเก็บจากเหตุการณ์ใช้อาวุธปืนในสถานการณ์จริง ประสิทธิภาพของกระสุนปืนซึ่งได้ผลดีในห้องปฏิบัติการอาจได้ผลไม่ดีนักในสถานการณ์จริงก็ได้


อำนาจหยุดยั้งของกระสุนปืนขึ้นกับปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น


- ขนาดหัวกระสุน ขนาดใหญ่กว่ามักมีอำนาจหยุดยั้งดีกว่าขนาดเล็ก


- น้ำหนักหัวกระสุน น้ำหนักที่มากกว่ามักให้อำนาจหยุดยั้งดีกว่า


- การออกแบบหัวกระสุน กระสุนหัวรู (Hollow point) ซึ่งเมื่อถูกยิงเข้าสู่เป้าหมายแล้วจะบานออกคล้ายดอกเห็ดเพิ่มขนาดหน้าตัดของกระสุนใหญ่ขึ้น มักให้อำนาจหยุดยั้งดีกว่ากระสุนหัวกลม (Round nose point)


- ความเร็วของกระสุน กระสุนที่มีความเร็วสูงมักให้อำนาจหยุดยั้งดีกว่ากระสุนที่มีความเร็วต่ำกว่า


ในการออกแบบหัวกระสุนนั้นขึ้นกับวัตถุประสงค์ของกระสุนที่จะนำไปใช้ เช่น ใช้ในการทหาร ใช้ในการป้องกันตัว ใช้ในการล่าสัตว์ ใช้ในการกีฬา เป็นต้น แล้วนำปัจจัยต่างๆข้างต้นมาประกอบกันเพื่อให้ได้กระสุนที่มีประสิทธิภาพตามที่ต้องการ โดยต้องคำนึงถึงการใช้งานจริงด้วย


มีการศึกษาหนึ่งจากกรมตำรวจดีทรอยต์ (Detroit Police Department) โดยอดีตตำรวจชื่อ Evan Marshall เป็นการรวบรวมข้อมูลจากการยิงต่อสู้ของเจ้าหน้าที่ตำรวจเป็นส่วนใหญ่และบางส่วนจากการยิงโดยประชาชน โดยศึกษาเฉพาะการยิงบริเวณลำตัวเพียงหนึ่งนัด สามารถทำให้ผู้ถูกยิงทรุดลงในระยะไม่เกิน 10 ฟุตและไม่สามารถตอบโต้กลับมาได้ การศึกษานี้ได้ถูกตีพิมพ์ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1990s ในชื่อ “Handgun Stopping Power-The Definitive Study” ซึ่งสามารถใช้อ้างอิงในการเลือกใช้กระสุนให้กับเจ้าหน้าที่รักษากฎหมายและประชาชนเพื่อการป้องกันตัว (Self-defense)


จะขอกล่าวถึงเฉพาะขนาดกระสุนที่นิยมใช้ในประเทศไทยและในการป้องกันตัว ขอนำเสนอเพียงข้อมูลบางส่วนที่สำคัญเท่านั้น


.38 ACP


ยี่ห้อ Federal Hydra Shok อำนาจหยุดยั้ง 71 เปอร์เซ็นต์, Cor Bon Jacketed Hollow Point (JHP) อำนาจหยุดยั้ง 70 เปอร์เซ็นต์, Federal JHP อำนาจหยุดยั้ง 69 เปอร์เซ็นต์


.38 Special-2” barrel


ยี่ห้อ Winchester 158gr lead Hollow Point (HP), Federal 158gr lead HP, Remington 125gr JHP และ Remington 158gr lead HP มีอำนาจหยุดยั้ง 67 เปอร์เซ็นต์ เท่ากันหมด


.38 Special-4” barrel


ยี่ห้อ Cor Bon 115gr jhp +P+ (เลิกผลิตแล้ว), Winchester 110gr JHP +P+ มีอำนาจหยุดยั้ง 83 เปอร์เซ็นต์, Winchester 158gr lead HP อำนาจหยุดยั้ง 77 เปอร์เซ็นต์, Federal 158gr lead HP อำนาจหยุดยั้ง 76 เปอร์เซ็นต์


.357 Magnum


ยี่ห้อ Federal 125gr JHP อำนาจหยุดยั้ง 96 เปอร์เซ็นต์, Remington 125gr JHP อำนาจหยุดยั้ง 94 เปอร์เซ็นต์, CCI 125gr JHP อำนาจหยุดยั้ง 91 เปอร์เซ็นต์, Federal 110gr JHP อำนาจหยุดยั้ง 90 เปอร์เซ็นต์


9 mm.


ยี่ห้อ Cor Bon 115gr JHP, Federal 115gr JHP +P+, Winchester 115gr JHP +P+ และ Remington 115gr JHP +P+ มีอำนาจหยุดยั้ง 91 เปอร์เซ็นต์, Federal 124gr HS +P+ อำนาจหยุดยั้ง 88 เปอร์เซ็นต์, Federal 124gr Nyclad HP อำนาจหยุดยั้ง 84 เปอร์เซ็นต์


.45 ACP


ยี่ห้อ Federal 230gr Hydra Shok อำนาจหยุดยั้ง 95 เปอร์เซ็นต์, Remington 185gr Golden Sabre อำนาจหยุดยั้ง 94 เปอร์เซ็นต์, Cor Bon 185gr JHP และ Remington 185gr JHP +P มีอำนาจหยุดยั้ง 92 เปอร์เซ็นต์


จะเห็นได้ว่ากระสุนขนาดเดียวกันแต่ทำจากต่างบริษัทกลับให้อำนาจหยุดยั้งต่างกัน เป็นเพราะการออกแบบกระสุนที่ต่างกันนั้นเอง เป็นการนำปัจจัยต่างๆข้างต้นมาประกอบกันด้วยสัดส่วนที่ต่างกันก็จะทำให้มีประสิทธิภาพที่ต่างกันออกไป


กระสุนปืนสั้นขนาด .357 Magnum มีอำนาจหยุดยั้งดีที่สุด แต่ก็มีข้อเสียที่สำคัญ คือ มีอำนาจในการทะลุทะลวงอย่างมาก ซึ่งเมื่อยิงถูกคนร้ายแล้วกระสุนก็ยังอาจทะลุผ่านไปถูกผู้บริสุทธิ์ซึ่งอยู่ข้างหลังได้ จึงไม่เหมาะที่จะนำมาใช้ในการยิงต่อสู้ในเขตเมือง หลายรัฐในสหรัฐจึงไม่อนุญาตให้ใช้กระสุนชนิดนี้ ดังนั้นบริษัทผลิตกระสุนจึงทำกระสุนที่มีความแรงลดน้อยลงมา เช่น กระสุน +P และ +P+ โดยกระสุน +P+ มีความเร็วหัวกระสุนมากกว่ากระสุน +P แต่น้อยกว่า .357 Magnum เพียงเล็กน้อยเท่านั้นซึ่งกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ โดยกำหนดให้เจ้าหน้าที่รักษากฎหมายสามารถใช้กระสุน +P+ ได้ แต่อนุญาตให้ประชาชนใช้ได้แค่กระสุน +P เท่านั้น


ปัจจุบันมีการผลิตกระสุนออกมาใหม่หลายชนิด โดยอาศัยการออกแบบหัวกระสุนที่หลากหลาย ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพดีเมื่อทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ


สำหรับประเทศไทยนั้นมีกระสุนซึ่งผลิตในต่างประเทศขายเพียงบางยี่ห้อและราคาก็สูงมากเมื่อเทียบกับราคาในต่างประเทศหรือกระสุนขนาดเดียวกันแต่ผลิตในประเทศไทย อีกทั้งกระสุนบางประเภท เช่น กระสุน +P+ ซึ่งไม่อนุญาตให้ประชาชนใช้และไม่มีขายในประเทศไทย แต่กระสุน +P มีขายทั่วไป สำหรับประเทศไทยแล้วอนุญาตให้ใช้กระสุน .357 Magnum ได้ ดังนั้นผู้ที่เลือกใช้กระสุนชนิดนี้จะต้องระมัดระวังในเรื่องอำนาจทะลุทะลวงของกระสุนด้วย


โดยส่วนตัวแล้วไม่แนะนำให้พยายามขวนขวายหากระสุนราคาแพงๆเหล่านี้มาใช้ เนื่องจากเสียค่าใช้จ่ายสูงและหายาก ทำให้ไม่สามารถนำกระสุนเหล่านี้มาฝึกซ้อมยิงได้บ่อยนัก อีกทั้งต้องเก็บไว้นานหลายปีกว่าจะทำใจซื้อกระสุนใหม่มาเปลี่ยนเพื่อเก็บไว้ใช้งาน

แต่ถ้าใช้กระสุนที่ผลิตในประเทศ (มีบริษัทที่มีมาตรฐานดีพอสมควร ซึ่งกระสุนมีคุณภาพใช้ได้) มีราคาถูกและหาง่ายกว่า จึงสามารถนำกระสุนเหล่านี้มาฝึกซ้อมยิงและสามารถซื้อมาเปลี่ยนได้บ่อยกว่า เช่น อาจซื้อมาเปลี่ยนได้ทุกปี ทำให้เราได้ใช้กระสุนที่ผลิตใหม่ๆเอาไว้สำหรับการป้องกันตัว ซึ่งอาจจะดีกว่ากระสุนปืนอย่างดีแต่เก่าเก็บไม่รู้ว่าอานุภาพของกระสุนอ่อนแรงลงหรือไม่จนอาจทำให้ปืนเกิดเหตุติดขัดได้ขณะใช้งาน


โดยหลักการแล้วพยายามเลือกกระสุนที่มีความแรงมากที่สุดเท่าที่จะหาได้และปืนของเราสามารถรองรับได้ด้วย เช่น เลือกกระสุน +P แต่โดยส่วนตัวแล้วไม่แนะนำ .357 Magnum เนื่องจากอำนาจทะลุทะลวงที่มากเกินไปเมื่อจะใช้งานในเขตเมือง เลือกขนาดกระสุนที่เราสามารถควบคุมปืนได้ดี และควรทดลองยิงด้วยกระสุนที่จะใช้งานจริงเป็นระยะๆเพื่อดูการทำงานของปืนว่ามีความราบรื่นหรือไม่และทำให้เราเกิดความคุ้นเคยกับการยิงด้วยกระสุนจริง


สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”


เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Selecting the Duty Weapon--Is Caliber the Key? ของ Evan Marshall

No comments:


Newcastle limousines