Scan and Breathe
เมื่อเราเข้าสู่สถานการณ์ที่ต้องใช้อาวุธปืน ความสามารถในการมองเห็นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการตอบสนองต่อภัยคุกคามเบื้องหน้า
ความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ (Situational awareness) เป็นกุญแจสำคัญของความปลอดภัยส่วนบุคคล (Personal security) ซึ่งต้องอาศัยประสาทสัมผัสทั้งหมด สายตาสามารถเห็นภัยคุกคามที่อยู่ข้างหน้า ในขณะที่หูสามารถได้ยินเสียงที่มาข้างหลังได้ เมื่อมีความผิดปกติในทิศทางใดก็ตามมักต้องหันไปดูเพื่อแยกแยะว่าสิ่งนั้นเป็นภัยคุกคามหรือไม่ ความตระหนักรู้ถึงสถานการณ์ทำให้เรารู้ว่ามีอะไรอยู่รอบตัว มีใครกำลังเข้ามาใกล้หรืออยู่ที่ใด มีที่หลบซ่อนสำหรับคนร้ายอยู่ใกล้หรือไม่ ทำให้เราสามารถเตรียมตัวที่จะตอบสนองได้ดี โอกาสที่คนร้ายจะปรากฏตัวอย่างไม่ทันตั้งตัวจึงเป็นไปได้ยาก
การตอบสนองต่อสถานการณ์ร้ายนั้นมี 3 รูปแบบ คือ หลีกเลี่ยง (Avoid) หนี (Evade) และ ตอบโต้กลับ (Counter) ซึ่งการจะตอบโต้กลับควรใช้เมื่อเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงหรือหนีได้ การหลีกเลี่ยงหรือหนีมักจะทำได้ถ้าเรามีเวลานานพอก่อนที่ภัยคุกคามจะตรงเข้ามาทำร้าย
ในขณะเผชิญเหตุด้วยความตื่นเต้นจะเกิดปรากฎการณ์หลายอย่างซึ่งมีผลต่อประสาทสัมผัสของเรา เช่น Tunnel vision (รูม่านตาขยายทำให้การมองเห็นแคบลงจะชัดบริเวณกลางภาพ เพื่อให้สนใจเฉพาะภัยคุกคามเบื้องหน้าเป็นสำคัญ ในขณะที่ขอบภาพจะไม่ชัดเหมือนการมองผ่านในอุโมงค์) ความสามารถในการได้ยินน้อยลง ทำให้ได้ยินเฉพาะบางเสียงที่สำคัญเท่านั้นขาดรายละเอียด บางช่วงอาจมีการกลั้นหายใจเป็นพักๆ ทำให้เหนื่อยง่ายขึ้น ความสามารถในการเคลื่อนไหวอย่างละเอียดของร่างกายทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร เช่น การเคลื่อนไหวของนิ้วมือ เป็นต้น
เมื่อพบภัยคุกคามสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ มองที่มือของเขาว่ามีอาวุธอยู่หรือไม่ เพื่อประเมินภัยคุกคามและตัดสินใจตอบสนองอย่างเหมาะสม ปัญหาก็คือ คนส่วนใหญ่จะสนใจเฉพาะภัยคุกคามที่ตนเห็นเบื้องหน้าเท่านั้น ทำให้ขาดความสนใจภัยคุกคามอื่นซึ่งอาจปรากฏขึ้นมา
การฝึกฝนจะสามารถเอาชนะปฏิกิริยาดังกล่าวได้ ด้วยการฝึก Scan and Breathe (กวาดตามองทั่วๆ และหายใจ) นั้นจึงเป็นเหตุผลที่ครูฝึกมักตะโกนบอกให้ผู้รับการฝึกทำการ Scan and Breathe อยู่บ่อยครั้งหลังยิงเป้าหมายไปแล้ว ซึ่งผู้รับการฝึกบางคนก็ทำตามอย่างสม่ำเสมอในขณะที่บางคนตั้งอกตั้งใจเตรียมที่จะยิงนัดต่อไปเพียงอย่างเดียว
เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่จะต้องกวาดตามองให้ทั่วบริเวณ เพื่อมองหาภัยคุกคามและมองที่มือของภัยคุกคามด้วยเสมอ
จากการศึกษาของเหตุการณ์การเผชิญหน้ากันด้วยอาวุธปืนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่ามีน้อยกว่าครึ่งที่มีภัยคุกคามมากว่าหนึ่งคน แต่ความเป็นจริงน่าจะมากกว่านี้เนื่องจากผู้ต้องสงสัยจำนวนมากอาจหนีไปหลังเริ่มมีการใช้อาวุธปืน
ทันทีที่เห็นภัยคุกคามเบื้องหน้า ควรมองหาภัยคุกคามอื่นๆด้วย โดยให้ภัยคุกคามหลักยังอยู่ในสายตาตลอดเวลาและเริ่มที่จะตอบสนองทันทีไม่ว่าจะเป็นการหลีกเลี่ยง หนีหรือตอบโต้
ส่วนหนึ่งของการกวาดตามองให้ทั่ว คือ การมองหาทางหนี เพราะถ้ามีภัยคุกคามหลายคนอาจพยายามปิดทางหนีของเรา และมองไปข้างหลังถ้าเราพยายามถอยหลัง การมองเห็นภัยคุกคามได้เร็วเท่าไหรก็ยิ่งดี
การกวาดตามองให้ทั่วไม่เพียงแค่หันศีรษะมองซ้ายขวาเท่านั้น แต่ต้องมองทั้งใกล้และไกลด้วย เราจะเริ่มกวาดตามองให้ทั่วเมื่อไรก็ขึ้นกับตัวเราเองและสถานกาณ์ อาจตั้งแต่เริ่มเห็นภัยคุกคามและ/หรือหลังทำการยิงแล้วก็ได้
ฝึกฝนการใช้สายตาเพราะการเพียงแค่หันศีรษะไปมาไม่ได้หมายความว่าคุณได้รับรู้สิ่งที่เห็นจริงๆ
TAS เน้นย้ำเสมอให้ทำการตรวจการณ์หลังการยิงทุกครั้ง เพื่อมองหาภัยคุกคามอื่นซึ่งอาจปรากฎขึ้นมาอย่างฉับพลัน
สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
เรียบเรียงโดย Batman
อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง I spy ของ Dave Spaulding
เคล็ดลับยิงปืนเพื่อป้องกันตัว เล่ม 2
-
*เคล็ดลับยิงปืนเพื่อป้องกันตัว เล่ม 2*
หาซื้อได้แล้วที่ *Naiin.com, Ookbee.com*
อีบุ๊กฉบับสมบูรณ์ชุดแรกที่มีทั้งเนื้อหา ภาพประกอบและคลิป
เพื่อให้เข้าใจง...
7 years ago
No comments:
Post a Comment