Thursday, May 26, 2011

Making Decision to Use a Gun


Making Decision to Use a Gun

การตัดสินใจใช้อาวุธปืนเพื่อปกป้องชีวิตและทรัพย์สินนั้น พูดง่ายแต่ยากที่จะให้คำจำกัดความว่าสถานการณ์เช่นไรเหมาะสมที่จะใช้อาวุธปืน หรือสมเหตุสมผลในการใช้อาวุธปืน

เนื่องจากอาวุธปืนถือเป็นอาวุธร้ายแรงจึงต้องมีกฎหมายควบคุมสำหรับอาวุธปืนโดยเฉพาะซึ่งมีบทลงโทษที่รุนแรงกว่าอาวุธชนิดอื่น

ได้มีการให้ข้อแนะนำบางประการซึ่งมีประโยชน์มากในการพิจารณาความเหมาะสมในการใช้อาวุธปืน โดยพิจารณาจากปัจจัยหลายประการ อาทิเช่น

-          จำนวนคนร้ายเมื่อเปรียบเทียบกับเรา เช่น ฝ่ายเรามีแค่ 2 คนหรือตัวเราคนเดียว แต่คนร้ายมี 5 หรือ 6 คน การที่เราเป็นฝ่ายเสียเปรียบในเรื่องจำนวนเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาใช้อาวุธ

-          ชนิดของอาวุธที่ใช้ เป็นเรื่องของความร้ายแรงของอาวุธที่ใช้ไม่ว่าจะเป็นอาวุธของคนร้ายหรืออาวุธของเราเอง เช่น คนร้ายมีมีดหรือปืนซึ่งอาจทำอันตรายเราได้ถึงแก่ชีวิต

-          ขนาดตัวของคนร้ายเมื่อเปรียบเทียบกับเราหรือคนที่เราปกป้อง ซึ่งอาจเป็นเด็กหรือภรรยา เป็นต้น ถ้าคนร้ายเป็นผู้ชายร่างกายแข็งแรงมาทำร้ายคนซึ่งอ่อนแอกว่า การใช้อาวุธเพื่อป้องกันตัวก็สมเหตุสมผล

-          ความสามารถของเราในการที่จะหลีกเลี่ยงหรือหนีออกจากสถานการณ์ร้าย ถ้าเราตกอยู่ในสถานการณ์ร้ายและเรามีโอกาสที่จะหนีหรือหลีกเลี่ยงได้แต่กลับไม่ทำ การใช้อาวุธปืนของเราอาจมีปัญหาในการตัดสินจากศาลได้

-          เราหยุดที่จะใช้อาวุธปืนทันทีที่คนร้ายได้หมดสภาพการเป็นภัยคุกคามแล้วหรือไม่ เช่น ถ้าคนร้ายเห็นอาวุธปืนของเราแล้ววิ่งหนี แต่เรากลับยิงไล่หลังคนร้ายไป การกระทำเช่นนี้ไม่สมเหตุสมผล เป็นต้น



การพิจารณาความเหมาะสมในการใช้อาวุธปืนนั้น อาศัยสภาพการณ์ที่เป็นจริง ต้นเหตุ ความสามารถของคนร้ายและตัวเรา อาวุธของคนร้ายและของเรา มีหนทางอื่นให้เลือกใช้ก่อนอาวุธปืนหรือไม่ เป็นเหตุการณ์ซึ่งสามารถเลี่ยงได้หรือไม่ เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้ศาลใช้ในการพิจารณาความเหมาะสมในการใช้อาวุธปืน

การใช้อาวุธปืนเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ร้ายแรงนั้นต้องคิดให้ดี มี “สติ” ตลอดเวลา ไม่ใช้อารมณ์เข้ามาตัดสินใจ เพราะผลของการกระทำนั้นมีมากทั้งต่อตนเองและครอบครัว แม้เพียงแค่หยิบปืนออกมาเล็งไปที่คนก็ต้องทำด้วยเหตุผลที่เหมาะสม กระสุนทุกนัดที่ยิงออกไปต้องอธิบายได้ว่าเพราะอะไรทำไมถึงต้องยิง

ถึงแม้ระบบกฎหมายของเราและอเมริกามีความแตกต่างกัน บางกรณีของการใช้อาวุธปืนเพื่อป้องกันตัวหากเกิดในอเมริกาเราอาจไม่มีความผิด แต่ถ้าสถานการณ์แบบเดียวกันเกิดในเมืองไทยเราอาจมีความผิดต้องโทษจำคุก ก็เป็นเรื่องของแนวทางพิจารณาคดีที่อาจแตกต่างกันบ้าง แนวคิดเรื่องการป้องกันตัวอาจแตกต่างกันบ้าง แต่หลักของความยุติธรรมก็มีความเป็นสากลอยู่ ดังนั้นการใช้อาวุธปืนจึงต้องคิดให้ดีก่อนนำมาใช้ เพราะศาลอาจไม่เห็นด้วยกับเหตุผลของเราในการใช้อาวุธปืนก็ได้

TAS สอนการยิงปืนอย่างถูกวิธีและสร้างจิตสำนึกที่ดีในการใช้อาวุธปืนอย่างเหมาะสม

สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”

                                                                                                เรียบเรียงโดย Batman
                                                                        อ้างอิงเนื้อหาบางส่วนจากบทความเรื่อง Use of Force & the Law ของ Richard Nance

Thursday, May 19, 2011

Gun and Lady

Gun and Lady



ภัยคุกคามร้ายแรงทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สินมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ เพราะผู้หญิงมีจิตใจและร่างกายที่อ่อนแอกว่าคนร้ายซึ่งมักเป็นผู้ชาย ทำให้โอกาสในการก่อเหตุสำเร็จจึงมากกว่าการเลือกเหยื่อที่เป็นผู้ชายด้วยกัน ดังนั้น “ผู้หญิง” จึงเป็นเป้าหมายแรกๆที่คนร้ายจะเลือกลงมือ


อาวุธปืนและมีดสามารถทำให้ผู้หญิงตัวเล็กๆสามารถต่อกรกับผู้ชายตัวโตๆได้หากมีความรู้และทักษะในการใช้อาวุธดังกล่าว ในแง่ของอาวุธปืนสั้นนั้นไม่ใช่ว่าปืนทุกกระบอกจะเหมาะสมกับผู้หญิงทุกคน การเลือกใช้อาวุธปืนให้เหมาะสมกับตนเองจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง


จากประสบการณ์ในการสอนยิงปืนและความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญหลายท่านทั้งในและต่างประเทศ แนะนำว่า “ปืนลูกโม่” โดยเฉพาะโครงปืนเล็กๆ เช่น โครง J ของ S&W หรือ ปืนลำกล้อง 2 หรือ 3 นิ้ว เป็นต้น เหมาะสมสำหรับผู้หญิงเป็นอย่างมาก เนื่องจาก


- ผู้หญิงหลายคนมีปัญหากับปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติในการขึ้นลำสไลด์ เพราะสปริงของสไลด์แข็งและต้องออกแรงมากสำหรับปืนบางกระบอกบางประเภท ดังนั้นปืนลูกโม่ซึ่งใช้งานง่ายกว่าจึงเป็นทางเลือกที่ดี


- ปืนลูกโม่โครงเล็ก (เช่น ลำกล้อง 2 หรือ 3 นิ้ว) จะทำให้ผู้หญิงไทยซึ่งมีมือขนาดเล็กสามารถกำด้ามปืนและเหนี่ยวไกได้ถนัดกว่าปืนโครงมาตรฐานทั่วไป (โครง K ของ S&W, ลำกล้อง 4 นิ้ว) อีกทั้งน้ำหนักปืนก็น้อยกว่าด้วยและหาด้ามปืนเปลี่ยนให้เหมาะสมกับขนาดมือได้ง่ายกว่า ถึงแม้วงกระสุนที่ใช้ได้อาจจะลดลงไปบ้าง เช่น เหลือ 5 นัด แต่ก็ถือว่าเพียงพอสำหรับการป้องกันตัว นอกจากนั้นยังสะดวกในการพกพามากกว่าปืนโครงมาตรฐาน


- การดูแลรักษาง่าย ผู้หญิงมักไม่ค่อยสนใจในการดูแลปืนมากนัก ซึ่งปืนลูกโม่มีกลไกที่จะต้องดูแลน้อยกว่าปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติ ทำให้ปืนลูกโม่ต้องการการดูแลรักษาน้อยกว่าอย่างชัดเจน


- ปืนลูกโม่ใช้งานง่ายกว่า เพียงบรรจุกระสุนเข้าโม่ ปิดโม่ ก็สามารถทำการยิงได้แล้ว ในการเก็บปืนทั่วไปมักบรรจุกระสุนไว้ในโม่เตรียมพร้อมอยู่แล้ว เมื่อหยิบปืนขึ้นมาก็สามารถทำการยิงได้ทันที และถ้าต้องการทำให้ปืนปลอดภัยก็เพียงแค่เปิดโม่ปืนก็ปลอดภัยแล้ว ต่างจากปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติที่มีระบบการใช้งานที่ยุ่งยากกว่า เช่น มีระบบ Safety, คันลดนก, คันค้างสไลด์ เป็นต้น เมื่อต้องการใช้ปืนก็มีขั้นตอนมากกว่าเพื่อให้ปืนพร้อมใช้งาน และหากต้องการทำให้ปืนปลอดภัยก็มีขั้นตอนยุ่งยากกว่าปืนลูกโม่มาก


- ปืนลูกโม่เรียนรู้ง่ายและรวดเร็วกว่า เนื่องจากผู้หญิงโดยทั่วไปมีความสนใจเรื่องปืนน้อยกว่าผู้ชาย ปืนลูกโม่มีสิ่งที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับกลไกการทำงานของปืนและเหตุติดขัดน้อยกว่าปืนสั้นกึ่งอัตโนมัติอย่างชัดเจน


ถึงแม้ปืนทุกกระบอกผู้หญิงสามารถยิงและใช้งานได้ก็จริง แต่การเลือกปืนให้เหมาะสมกับความสนใจและสรีระของเราเป็นสิ่งสำคัญ การได้จับถือปืนและทดลองยิงปืนก่อนที่จะเลือกซื้อเพื่อนำมาใช้งานนั้นเป็นสิ่งจำเป็น ทำให้เราได้ใช้ปืนซึ่งเหมาะสมกับตัวเราจริงๆ


และมีสิ่งหนึ่งที่ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายพูดตรงกันก็คือ การฝึกยิงปืนอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าเรามีปืนแบบใด ชนิดใด หากเป็นปืนที่เราจะฝากชีวิตไว้กับมันในยามจำเป็น ก็ควรมีการฝึกยิงปืนอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ และถือเป็นความรับผิดชอบของผู้มีอาวุธปืนทุกคน เรียนรู้ตนเองว่าเราทำอะไรได้ ทำอะไรไม่ได้ ปืนของเรามีข้อดี ข้อด้อย อะไรบ้าง จะทำให้เราใช้อาวุธปืนกระบอกนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด


สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”


เรียบเรียงโดย Batman

Thursday, May 12, 2011

Handgun Shooting Mistakes


Handgun Shooting Mistakes

ความแม่นยำในการยิงปืนสั้นนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น ท่ายิงที่ถูกต้องมั่นคง การถือปืน การกำด้ามปืน การเล็ง การควบคุมการหายใจ และการเหนี่ยวไกอย่างถูกต้อง ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เรายิงได้ถูกเป้าหมายอย่างแม่นยำ

ตำบลกระสุนตกที่เป้าหมายซึ่งคลาดเคลื่อนไปจากจุดที่เล็ง อาจบอกอะไรเราได้หลายอย่าง แม้ศูนย์ปืนเหมาะสม ระยะยิงเหมาะสม ท่ายิง การเล็งและจังหวะในการยิงถูกต้องแต่ก็ยังพลาดเป้าหมาย

มีแผนภาพของกระสุนปืนที่พลาดเป้าหมายหากตกอยู่ในพื้นที่ใดของเป้า อาจบ่งบอกสาเหตุที่ทำให้การยิงนั้นผิดพลาดได้ เช่น ถ้ากระสุนตกอยู่บริเวณ

-          Breaking wrist up แสดงว่าในขณะยิงมีการหักข้อมือที่ถือปืนขึ้น

-          Heeling (anticipating recoil) มีการถือชอนปืนเพื่อต้านแรงถีบของปืน

-          Thumbing (squeezing thumb) or Too much trigger finger มีการหนีบนิ้วหัวแม่มือข้างที่เหนี่ยวไกมากเกินไป หรือ วางนิ้วชี้ที่ใช้เหนี่ยวไกลึกเกินไป

-          Tightening grip while pulling trigger กำด้ามปืนแน่นเกินไปขณะเหนี่ยวไก

-          Breaking wrist down, pushing forward or drooping head ขณะยิงมีการหักข้อมือที่ถือปืนลง หรือพยายามดันปืนไปข้างหน้าหรือกดปากกระบอกปืนลง

-          Jerking or slapping trigger มีการกระตุกไกขณะยิงหรือกระชากไก

-          Tightening fingers มีการออกแรงบีบนิ้วมือข้างที่เหนี่ยวไกมากเกินไป

-          Too little trigger finger วางนิ้วชี้ที่ใช้เหนี่ยวไกตื้นเกินไป

-          Pushing (anticipating recoil) or No follow-through เตรียมต้านแรงถีบของปืนมากเกินไป หรือในกรณียิงซ้ำไม่มีการ Follow-through ไกปืน

ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นเพียงแนวทางคร่าวๆซึ่งอาจช่วยให้เราปรับแก้การยิงของเราให้ดีขึ้นได้ อย่าลืมว่าการยิงปืนได้อย่างแม่นยำนั้นมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง การกำด้ามปืน การเหนี่ยวไก เป็นเพียงปัจจัยหนึ่งในเรื่องความแม่นยำเท่านั้น

ความแม่นยำชนิดที่ยิงเข้าจุดวงกลมดำตรงกลางนั้นมีความสำคัญสำหรับการยิงปืนแข่งขันที่วัดความแม่นยำอย่างละเอียด ส่วนการยิงปืนระบบต่อสู้ไม่ได้ให้ความสำคัญกับความแม่นยำระดับนั้นมากนัก แต่ก็ควรมีความแม่นยำในระดับที่ยอมรับได้ ยกเว้นว่าเป็นการยิงเป้าหมายที่ระยะไกลกว่า 7 หลา มักแนะนำให้เล็งละเอียดมากขึ้นเพราะมีโอกาสพลาดเป้าหมายได้สูงขึ้นอย่างชัดเจน

สุดท้ายนี้ทุกครั้งที่จับปืนขอให้มี “สติ”
                                                                                            เรียบเรียงโดย Batman

Newcastle limousines